ปตท. บทเรียนที่ช้ำใจของคนไทย

ปตท. บทเรียนที่ช้ำใจของคนไทย

บทความนี้ ได้เขียนไว้นานแล้วครับ นำมาให้อ่านอีกครั้งครับ เพราะเข้ากับสถานการณ์ที่เป็นข่าวในช่วงนี้พอดี

วัน ก่อนได้ยินแว่ว ๆ คำโฆษณาของ ปตท. ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ว่าเป็นสปอตวิทยุ หรือโทรทัศน์ ได้ยินเสียงโฆษณาคล้าย ๆ กับตั้งเป็นคำถาม ว่า “ มีคนถามว่ากำไรของปตท. กลับคืนไปที่ใคร” อะไรๆ ทำนองนี้แหละครับ ท่านผู้อ่านก็คงได้ยินและคงนึกในใจไม่ต่างกับผมเท่าไรว่า ถามทำไม ก็รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าใครเป็นเจ้าของ คนนั้นก็คือผู้ได้ประโยชน์จากผลกำไรที่เกิดขึ้น

ถ้า ถามคำถามกันอย่างนี้ ก่อนหน้า ปตท.เข้า ซื้อ/ขาย ในตลาดหลักทรัพย์ คนไทยทั้งประเทศ คงตอบได้เหมือนกันหมดว่า “ กำไรเป็นของพวกเราครับ!”

ทำไม รัฐบาลออกสปอตโฆษณาแบบนี้ ทำเพื่ออะไร ทำไมไม่พูดความจริง ทุกวันนี้ ผมมีความรู้สึกแปลก ๆ แปลกใจว่าเป็นแฟชั่นไปแล้วหรือ ที่คนเด่นคนดัง ผู้นำประเทศ ตั้งแต่ดาราไปจนถึงนายกรัฐมนตรีกันเลย มองพวกเราประชาชนคนไทย กินแกลบกันหรืออย่างไร

ต้องไปดูกันครับว่า ใครคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท.?

กระทรวง การคลังแน่นอน และนอกจากกระทรวงการคลังแล้ว ก็จะเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศทั่วโลกครับ แต่เราไม่มีโอกาสที่จะรู้หรอกครับว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์ (Beneficial) ที่แท้จริง เพราะนักลงทุนเหล่านี้มาในรูปแบบของสถาบันบ้าง กองทุนบ้าง หรือแม้แต่กองทุนส่วนตัว (Private fund) ที่ใช้ตัวแทน (Nominee) ตรงนี้แหละครับที่อันตราย เพราะข่าวแว่ว ๆ ว่ามีเศรษฐีในไทยฝากเงินไว้ในต่างประเทศ ในรูปแบบของ Private Banking และขอสิทธิใช้กองทุนลักษณะนี้ ในการซื้อหุ้นราคาก่อนเข้าตลาด ที่เรียกกันว่าไอพีโอ กอบโกยกำไรกันเพลินไปเลย ที่น่าเจ็บใจ ก็คือฝ่ายรัฐบาล ( แกล้งโง่) ยินยอมให้กองทุนลักษณะนี้ ได้สิทธิในการซื้อหุ้นจำนวนมากโดยจัดชั้นว่าเป็นนักลงทุนต่างชาติ

พูด ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเป็นคนไทยใช้เงินบาทซื้อ ให้สิทธิซื้อทีละไม่เกิน 5,000-10,000 หุ้น แต่ถ้าเงินคนไทยฝากไว้ในต่างประเทศ ในลักษณะที่เรียกว่า Private Banking แล้วตั้งตัวแทน ใช้ชื่อกองทุนหรู ๆ ผ่านสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง ก็จะได้สิทธิซื้อหุ้นราคาไอพีโอเป็นล้าน ๆ หุ้น

มาดูข้อมูลกันครับ

ฝ่ายไทย เบื้องต้นมีเพียง กระทรวงการคลัง และ สำนักงานประกันสังคมเท่านั้น

ก่อน นำ ปตท. เข้าตลาดกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ 100% วันที่ 10 เมษายน 2545 จำนวนหุ้นลดลงจาก 100% เหลือ 69.28% ขายหุ้นให้นักลงทุนทั้งไทยและเทศ ได้เงินเข้าคลังเพียงประมาณ 30,000 ล้าน (ปัจจุบันราคาหุ้นสูงขึ้น 7 เท่า)

เท่านั้น ไม่พอ อยู่ดีๆก็ขายหุ้นเพิ่มอีกครับ วันที่ 22 มีนาคม 2547 เหลือหุ้นในมือเพียง48.55% ขายหุ้นออกไปอีกถึงร้อยละ 17 ราคาหุ้นช่วงนั้น ประมาณ 150 บาทต่อหุ้น ได้เงินเข้าคลังมากหน่อย ป่านนี้รัฐบาล คงใช้ไปหมดแล้ว เพราะเมื่อไม่กี่วันมานี่ก็ขอกู้อีก 80,000 ล้านบาท สำหรับสำนักงานประกันสังคม ซื้อหุ้นไว้เบื้องต้นร้อยละ 0.61 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ถือหุ้นร้อยละ 0.90 เข้าใจว่า ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ๆ

มีเพียงเท่านี้แหละครับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทยคือ กระทรวงการคลังและสำนักงานประกันสังคมในช่วงแรกๆ

มาภายหลังมีเพิ่มอีก 2 กองทุนที่มาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทยได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกองทุนวายุภักษ์

กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้นเดิมไม่มีชื่อในบัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ครับ เพิ่งจะโผล่มาเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 ซื้อไว้ 23,369,500 หุ้น ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เหลือ 21,220,550 หุ้น ร้อยละ 0.76 ในระหว่างปีก็ซื้อๆ ขายๆ หากำไรไปเรื่อยๆ ละครับ

ส่วน กองทุนรวมวายุภักษ์ ชื่อปรากฏเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2547 ว่าถือหุ้นร้อยละ 15.58 สอดคล้องกับเวลาที่กระทรวงการคลังลดสัดส่วนที่ถือไว้ แสดงว่ากระทรวงการคลังใจดีครับ ขายหุ้นของพวกเราให้กองทุนรวมวายุภักษ์ไป

ฝ่าย ไทยที่เห็นๆ อยู่ก็มีเท่านี้แหละครับ รู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นใครกันบ้าง ความจริงก็พอจะรับได้ไม่ว่าจะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือสำนักงาน ประกันสังคม เพราะผู้ได้ประโยชน์จะเป็นหมู่ข้าราชการและลูกจ้างทั่วไปๆ 7-8 ล้านคนครับ

มาดูฝ่ายต่างประเทศกันดีกว่า จัดอันดับไว้ดังนี้ครับ

* Morgan Stanley & Co., Int’l ร้อยละ 2.36
* State Street Bank & Trust Company ร้อยละ 1.29
* Chase Nominees Limited 1 ร้อยละ 0.94
* HSBC ( Singapore) Nominees Pte.Ltd. ร้อยละ 0.77
* The Bank Of New York (Nominees Ltd) ร้อยละ 0.65

ทั้ง 5 นักลงทุนต่างชาติปรากฏชื่อในบัญชี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2545 แสดงว่าลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นครับ ท่านผู้อ่านสังเกตดูชื่อแต่ละรายชื่อซิครับ โดยเฉพาะ รายที่ 3-5 จะมีคำว่า Nominees ตามท้าย เป็นลักษณะถือแทนแบบที่ผมกล่าวไว้ในเบื้องต้น ไม่ทราบถือหุ้นแทนใคร และยังมีกองทุนแบบ Private Banking อีกที่ได้หุ้นราคาไอพีโอ รายละเป็นล้านหุ้น ไม่ต้องมานั่งรอเข้าคิวตั่งแต่เช้ามืดเพื่อขอส่วน แบ่ง 1000 -2000 หุ้น

ถึง วันนี้มูลค่าการลงทุนของทั้ง 5 รายจำนวนทั้งสิ้น 168,327,769 หุ้น มีมูลค่าเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณหุ้นละ 200 บาท คิดคร่าวๆ ถ้าขายวันนี้ได้กำไรสามหมื่นล้านบาทเศษ ไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว แบบนี้ไม่รักรัฐบาลคุณทักษิณ แล้วจะไปรักใคร!

ไม่ใช่ มีเพียงเท่านี้ เพราะถึงวันนี้ได้มีนักลงทุนจากต่างประเทศอีกหลายราย เป็นลักษณะตัวแทนเกือบทั้งหมด เข้ามาซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก

ผม สงสารนักลงทุนรายย่อยทั้งหลาย โดยเฉพาะประเภทที่ไปรอคิวขอส่วนแบ่ง 1,000 – 2,000 หุ้น ต้นทุน 35 บาท พอขึ้นไป 50-60 หรือ 100 บาทต่อหุ้นก็ขายเรียบ ดีใจเพราะคิดว่าได้กำไรมากพอแล้ว จะมีสักกี่คนกันที่มีปัญญา มีเงินเหลือเพียงพอที่จะเก็บหุ้นไว้ได้นานๆ

ลองมาดูชื่อกองทุนรายใหญ่ๆที่เข้ามาซื้อ กันครับ

1. Nortrust Nominees Ltd. ถือหุ้น 0.61% เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 และเพิ่มเป็น 0.96% เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548

2. HSBC Bank Pcl – Clients General A/C ถือร้อยละ 0.72% เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2547 และเพิ่มเป็น 0.75% เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548

( 1% ประมาณ 30 , 000,000 หุ้น)

นอกจากนี้แล้วยังมีรายชื่อกองทุนต่างชาติอีกเป็นจำนวนมาก ที่อาจไม่นับเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ผม เพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า เวลานำหุ้นของรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ คนไทยทั่วๆ ไป ไม่ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริงอีกแล้ว มีเพียงกลุ่มเศรษฐีไม่กี่ราย

ความ จริงแล้วทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติพิสดารตรงไหน ถ้า ปตท. เป็นเพียงบริษัทของเอกชนทั่วๆ ไป ที่เจ็บใจและช้ำใจอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุผลอย่างนี้ครับ

1. ปตท. ดำเนินธุรกิจหลักคือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน วัตถุดิบทั้งสองอย่าง ค้นพบบนผืนแผ่นดินไทย เป็นทรัพยากรของชาติ คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ พวกเรามอบให้รัฐบาล (ปตท.) นำทรัพยากรเหล่านี้ไปหาผลประโยชน์ และนำกำไรที่ได้ส่งเข้าคลัง รัฐบาลคุณทักษิณนำ ปตท. เข้าตลาด ขายหุ้นให้ต่างชาติ หวังเพียงให้มูลค่าตลาดสูงขึ้น ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าทำเพื่อใคร

2. รัฐบาลฉลาดน้อย จะขายหุ้นทั้งทีไม่รอจังหวะช่วงตลาดบูม ( การกำหนดราคาไอพีโอจะคำนึงถึงสภาพตลาดโดยร่วมในช่วงเวลานั้นๆด้วย ) ตั้งราคาไอพีโอต่ำ ทำให้ได้เงินเข้าคลังเพียงน้อยนิด แกล้งโง่หรือเปล่า ทำให้นักลงทุนจากต่างประเทศ (รวมทั้งฝรั่งหัวดำ) ได้กำไรจากงานมหกรรม ปตท. เป็น หมื่นๆล้านบาท

รัฐบาลไม่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดเดิมๆ อีกหรือถึงจะเร่งรัดนำหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้าตลาดช่วงตลาดซึมอีกครั้ง เมื่อไหร่ถึงจะรู้จักพอกันเสียที

3. ตั้งแต่นำหุ้นของ ปตท.เข้าตลาดจนถึงวันนี้ ปตท. เคยมีกำไรในปี 2544 2,953 ล้านบาท ปี 2548 ปตท. กำไรเพิ่มเป็น 68,372 ล้านบาท

อย่าบอกนะว่าถ้าไม่เข้าตลาดก็ไม่มีกำไรขนาดนี้

ราย ได้หลักของปตท.คือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ ก๊าซ ร้อย ละ 28 และผลิตภัณฑ์น้ำมัน ร้อยละ 66 แต่ถ้าดูผลกำไรของปตท.ว่าทำไมถึงกำไรมากมายขนาดนั้น ( ปี 2547 กำไร 72,000 ล้านบาท ) จะพบว่า ปตท. ได้กำไรจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติสูงถึงร้อยละ 92.0

ก๊าซ ธรรมชาติได้มาจากไหนครับ ปตท. ซื้อจากผู้ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ มีแหล่งขุดเจาะเต็มไปหมดในอ่าวไทย ซื้อแล้วก็ขายต่อให้ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้ง กฟผ. และภาคเอกชน บางส่วนก็นำไปแยกเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบเหล่านี้เป็นสมบัติของคนไทยทุกคน

จะ นำหุ้นเข้าตลาดหรือไม่ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบก็มีเท่าเดิม สายส่ง ( ท่อ ) ที่วางอยู่บนดินและในทะเล และประชาชนคนไทยยินยอมให้ใช้ที่ดินในการวางท่อได้ ก็มีเหมือนเดิม

ผู้ บริหาร ปตท. ตั้งแต่ระดับบนจนถึงล่างสุดก็เดิมๆ คนไทยทั้งสิ้น ไม่มีฝรั่งหัวขาวที่ไหนโผล่มาให้เห็น ฝีมือคนไทยทั้งนั้นล่ะครับ กำไรที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับนใยบายของคุณทักษิณในการนำปตท.เข้า ตลาดแต่อย่างไร

ถ้าประเทศไทยฐานะทางการคลังย่ำแย่ บรรยากาศอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และปตท.ต้องใช้เงินลงทุนมาก ต้องการประหยัด หาแหล่งเงินที่ไม่มีดอกเบี้ย ก็อาจพอรับฟังได้บ้าง แต่นี่ก็ไม่ใช่

ท่านผู้อ่านครับ ทรัพย์สินถาวรของปตท.คือ ส่วนสำรองที่พิสูจน์แล้วของก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ เฉพาะในประเทศ คิดเป็นประมาณเทียบเท่าน้ำมันดิบถึง 645 ล้านบาร์เรล มูลค่าวันนี้ บาร์เรลละ 60 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยเบ็ดเสร็จประมาณ 1.48 ล้านล้านบาท เราเคยเป็นเจ้าของทั้งหมด ฝีมือคุณทักษิณ วันนี้ เราเป็นเจ้าของไม่ถึงครึ่ง

ใน ฐานะประชาชนคนไทยผมอยากได้ปตท.คืน ครับ และเป็นห่วง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมากที่สุด พวกเราต้องช่วยกันนะครับและอย่าได้ตั่งอยู่ในความประมาท

ประมาทคนชื่อทักษิณ ชินวัตรไม่ได้เป็นอันขาด

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา