พันธบัตรรัฐบาลร้อนๆจ้า

Fri, Mar 15, 2013

English | เศรษฐกิจ

พันธบัตรรัฐบาลร้อนๆจ้า

ขอกู้เงินนี่ยากนะครับ ธนาคารจะตรวจคำขอละเอียดยิบ โดยเฉพาะเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันเพราะกลัวลูกหนี้อย่างพวกเราจะเบี้ยวหนี้ สำหรับดอกเบี้ย ถ้าเครดิตของเราดี ธนาคารอาจคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำหน่อย แต่ถ้าเครดิตร่อแร่ จะโดนดอกเบี้ยสูงขึ้นทันที แปลความได้ว่าถ้าสถานะผู้กู้ไม่ค่อยจะตรงสเปก ต้องขอเหยียบให้ติดดินหนักกว่าธรรมดาเล็กน้อย ( เจ้าหนี้บอก…เพราะฉันต้องเสี่ยงกับคุณมากเป็นพิเศษ )

นั่นคือเรืองของประชาชนหรือธุรกิจที่เป็นผู้ขอกู้เงิน

แต่ถ้ารัฐบาลเป็นผู้ขอกู้เงินละ ไม่ต้องพูดเลยครับ ต่างจากกรณีของเรา ฟ้ากับดิน เลยที่เดียว

เมื่อรัฐบาลขอกู้เงิน โดยเฉพาะจากพวกเรา เขาเพียงแค่ออกเศษกระดาษหนึ่งใบที่เรียกว่าพันธบัตรรัฐบาล เท่านั้นพวกเราก็รีบเข้าคิวเรียงแถวกันไปซื้อ แห่กันขนเงินไปให้กู้ เอาเงินไปให้เขาเพื่อแลกกับพันธบัตรที่ว่านี้ โดยไม่กังวลว่ารัฐบาลจะเบี้ยวหนี้ ถึงแม้บางครั้งหน้าตาของคนเป็นรัฐบาลดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ก็ตาม เพราะเราถือว่ารัฐบาลกู้ในนามประเทศไทย เราเชื่อในเครดิตของประเทศ เราให้กู้ได้โดยไม่สนเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกัน

มีข่าวดีครับ ข่าวว่าปีนี้รัฐบาลเตรียมขอกู้เงินจากพวกเราจำนวนมากทีเดียว ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ช่วงเวลาที่จะขอกู้คือ 7 ปี ปีละ 3 แสนล้าน รัฐบาลจะขอแลกด้วยกระดาษหนึ่งใบที่เรียกว่าพันธบัตรรัฐบาลนี่แหละครับ แต่เป็นกระดาษที่ระบุว่าจะจ่ายผลประโยชน์ให้เป็นดอกเบี้ย น่าจะประมาณ 4-5 % ต่อปี แล้วแต่ว่าเราจะให้รัฐบาลกู้ยาวนานแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยได้อย่างมากก็แคนี้ เพราะรัฐบาลในฐานะผู้กู้บอกว่า ‘ เครดิตผมดีครับ ‘

เราซื้อพันธบัตรรัฐบาล เราไม่สนด้วยนะครับว่ารัฐบาลจะนำเงินไปทำอะไร ขอให้จ่ายดอกเบี้ยตรงเวลาเป็นใช้ได้และเมื่อถึงกำหนดเวลาไถ่ถอน เงินต้นต้องคืนให้ครบด้วยนะ

ส่วนรัฐบาลเมื่อได้เงินแล้ว เขาจะนำเงินกู้ในครั้งนี้ไปลงทุนในสารพัดโครงการ การลงทุนนั้นใช้เวลากว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยหวังว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จ โครงการจะสร้างรายได้เข้าประเทศ เพียงพอที่จะนำมาใช้หนี้
ได้ครับ

ความยากคือ รัฐบาลมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้นี้ทันทีที่เริ่มขายพันธบัตร เมื่อครบตามเป้า หลังปีที่ 7 จะต้องจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยปีละประมาณแสนล้านบาท จึงมีคำถามว่า รัฐบาลจะใช้เงินจากไหนมาจ่ายค่าดอกเบี้ยและเงินต้น

รัฐบาลจะใช้เงินที่เก็บจากรายได้จากภาษีมาจ่ายค่าดอกเบี้ยและเงินต้นครับ ถ้าไม่พอก็อาจต้องกู้เพิ่ม ซึ่งจะทำให้รายจ่ายค่าดอกเบี้ยแต่ละปีมากขึ้นไปอีก วนเป็นงูกินหางและจะเป็นอย่างนี้หลายปีครับ จนกระทั่งโครงการที่ได้ลงทุนไปแล้วเริ่มออกดอกออกผลนั่นละ เราถึงจะหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์นี้ได้

ประเด็นจึงมีอยู่นิดเดียวครับ โครงการที่จะต้องกู้เงินลงทุนมากมายขนาดนี้ จะสร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคตได้จริงหรือไม่ เป็นคำถามที่วันนี้อาจไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่เป็นประเด็นสำคัญที่คนที่เป็นมันสมองของประเทศควรสุมหัวช่วยกันคิด เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การลงทุนครั้งนี้จะสร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคตได้อย่างแน่นอน เรื่องความขัดแย้งทางการเมืองต้องตัดออกไปให้ได้ครับ

อย่าลืมว่าหนี้จากการกู้ครั้งนี้จะใช้เวลา 50 ปีกว่าจะเคลียร์ได้ ถ้าทำพลาดอนาคตลูกหลานของเราดับสนิทแน่นอนครับ

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Twitter

TwitPic

    " width="70" height="70" style="margin: px; border: 1px solid cccccc;" class="twitpic" />

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา