รัฐบาลถังแตก ตอนที่ 1

Sat, May 20, 2006

English | ทักษิณ

รัฐบาลถังแตก  ตอนที่ 1

ถึงเวลาแล้วครับที่เราต้องเข้าใจเรื่องการคลังของรัฐบาลกันบ้าง ไม่ใช่รัฐบาลในอดีตของคุณทักษิณเท่านั้น แต่ ของทุกรัฐบาลที่รับอาสาทำงานแทนพวกเรา งานนี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นการดูแลเงินภาษี เงินที่รัฐได้มาจากความเหนื่อยยากของพลเมืองดีที่ยินดีเสียภาษีครับ

ปีหนึ่งๆ รัฐฯเก็บภาษีจากประชาชนในรูปแบบต่างๆ กัน ตั้งแต่การจัดเก็บแบบง่ายๆ เช่นภาษี VAT คือโดนเก็บภาษีกันหมดทุกคนไม่ว่าจะฐานะยากดีมีจนแค่ไหน จ่ายเท่าๆ กัน ปัจจุบันจ่ายร้อยละ7 หรือภาษีเฉพาะประเภท เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใครหาได้มาก จ่ายมาก คนไหนหาได้น้อย จ่ายน้อย (พวกหาได้มาก แล้วเบี้ยวไม่ชอบจ่ายก็มี!)

รัฐบาล ในอดีตเก็บเงินภาษีได้ปีละหลายแสนล้าน ตอนนี้ปาเข้าไปปีละล้านล้านบาทแล้วครับ รัฐบาลบางครั้งลืมตัว เวลาใช้เงินเพื่อการหนึ่งการใด ขาดความระมัดระวัง ทำ เหมือนว่าเป็นเงินที่หาได้มาเอง แท้ที่จริงเป็นเงินที่ได้มาจากการเก็บภาษีจากหยาดเหงื่อของพวกเราทั้งสิ้น

การ ใช้เงินภาษีที่เรียกกันว่าเงินงบประมาณ มีขบวนการตามที่กฎหมายกำหนดครับ รัฐบาลคือผู้เสนอว่าจะใช้เงินในการพัฒนาประเทศไปในทิศทางใด ส่วนผู้มีอำนาจอนุมัติวงเงินงบประมาณรวมทั้งรายละเอียดการใช้จ่าย คือ ส.ส.ตัวแทนของพวกเรา ที่ท่านผู้อ่านดูทีวี เห็นนั่งหน้าสลอนในสภาละครับ

ทุกปีรัฐบาลจะเสนอรายการใช้จ่ายเงินในรูปแบบของกฎหมาย เรียกว่า“พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี….” ทุกๆ ปี

หลักการจัดงบประมาณที่สำคัญคือ รัฐบาลจะกำหนดว่าการใช้จ่ายในปีนี้ “หาได้เท่าไร ก็จะใช้เท่านั้น” เรียกว่า งบประมาณสมดุลหรือ “หาได้เท่านี้ ไม่พอใช้ ขอกู้เพิ่ม” เราเรียกกันว่า การจัดงบประมาณขาดดุล ใช้ได้ทั้งสองวิธีแล้วแต่ฐานะทางเศรษฐกิจและแนวนโยบายการใช้จ่ายเงินในแต่ละปี

ที่ คุยกันเป็นเรื่องขำขันคือ ปีไหนรัฐบาลจัดงบประมาณแบบขาดดุล ฝ่ายค้านจะโต้ว่าทำไมไม่จัดแบบสมดุล และถ้าปีใดรัฐบาลจัดงบแบบสมดุล ฝ่ายค้านก็จะโวยวายว่า น่าจะจัดงบประมาณแบบขาดดุล เป็นฝ่ายค้านทำงานง่ายดีไหมครับ

ผลจากนโยบายการจัดงบประมาณนี่แหละครับ จะเป็นตัวกำหนดว่า สถานะทางการคลังของประเทศเป็นอย่างไร

เช่นถ้านโยบายการใช้จ่ายเงินงบประมาณอยู่ในรูปแบบของการขาดดุล ต้องกู้เงินเพื่อนำมาปิดหีบงบประมาณ หนี้ของรัฐฯก็จะเพิ่มทุกปี ในขณะที่ถ้ารัฐบาลเก็บเงินภาษีได้มาก และใช้น้อย ใช้ไม่หมด รัฐบาลก็จะมีเงินเหลือเพิ่มทุกปี เช่นกัน

อ่านมาถึงตอนนี้ เห็นได้ว่าเข้าใจได้ไม่ยากนัก ไม่ต่างจากการคลังในกระเป๋าของท่านผู้อ่านเท่าไรใช่ไหมครับ

ที่ยุ่งยากขึ้นมาอีกนิดหนึ่งคือ การคลังของรัฐบาลนั้นไม่ได้มีเฉพาะเงินที่เข้าออกในระบบงบประมาณเท่านั้น มีเงินที่อยู่นอกระบบด้วย เราเรียกกันว่าเงินนอกงบประมาณ

ผมไม่ทราบว่าเรื่องของเงินนอกงบประมาณนี้เกิดขึ้นเมื่อไร คิดในใจว่าจะไปค้นดูซักทีแต่ก็หาเวลายังไม่ได้เอา เป็นว่าถ้าเป็นเงินในงบประมาณ ส.ส.คือ ตัวแทนของพวกเรามีส่วนรับรู้ แต่ถ้าเป็นเงินนอกงบประมาณ จะกลายเป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร แปลว่ารัฐบาลมีอำนาจในการใช้จ่ายเงินได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบฟังดูแล้ว ระบบนอกงบประมาณนี่ไม่ค่อยจะดีใช่ไหมครับ

พิจารณา ได้จากตัวอย่างแบบนี้ กองสลากขายหวยบนดิน รายได้จากการขายหวยหักลบรายจ่ายค่ารางวัล เป็นกำไร รัฐบาลจัดชั้นกำไรประเภทนี้ โดยกำหนดว่าไม่ต้องส่งเงินเข้าคลัง กลายเป็นเงินนอกงบประมาณ รัฐบาลใช้ได้เต็มที่ มั่วแบบที่เห็นกันอยู่ เรื่องนี้ต้องคุยกันอีกมาก พอดีวันนี้ไม่ใช่เรื่องของงบประมาณ ผมต้องขออนุญาตข้ามไปก่อน

อ่านต่อครับ เงินนอกงบประมาณและเงินในงบประมาณเขานำมาปนกันครับ รวมกันในรูปแบบเฉพาะของเงินสดเท่านั้น ไม่ใช่ระบบบัญชี ดัง นั้นสถานะทางการคลังของประเทศนอกจากจะพูดถึงผลของการรับเงินหรือจ่ายเงินใน งบประมาณแล้ว ยังมีผลของการรับเงินหรือจ่ายเงินของเงินนอกงบประมาณมารวมด้วยอีกต่างหาก เงินคงคลังจะเป็นตัวดำหรือตัวแดง ต้องรวมทั้งสองส่วนคือ ส่วนของในงบประมาณและส่วนของนอกงบประมาณด้วย ตัวดำไม่เป็นปัญหา แปลว่า มีเงินเหลือเวลาตัวแดง แปลว่า “เงินหมด ไม่มีจ่าย” เรียกว่า ถังแตกครับ  (  มีต่อ  )

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags:

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา