โกงตามปกติ

โกงตามปกติ

30 กรกฎาคม 2549

เรื่อง ที่ผมจะคุยให้ฟังวันนี้เป็นเรื่องร้ายแรง ดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ร่วมมือกับข้าราชการของรัฐบางคน ปล้นชาติ ค้นคิด วางแผนการโกงอย่างแยบยล ท่านผู้อ่านที่ติดตามวิธีการโกงที่มีการนำมาใช้ในช่วงการบริหารราชการแผ่น ดินของรัฐบาลภายใต้การนำของคุณทักษิณ อาจไม่แปลกใจ หลายท่านเมื่ออ่านบทความนี้แล้ว อาจนึกในใจอย่างประชดประชันเสียด้วยซ้ำว่า โกงแบบเดิม ๆ อีกแล้ว

ขบวนการ โกงนี้เริ่มประมานกลางปี พ.ศ. 2548 และท้ายที่สุดได้มีการลงนามสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549 เป็นช่วงเวลาของรัฐบาลรักษาการ เป็นช่วงเวลาของการเว้นวรรคทางการเมืองชั่วคราวของคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร

ตัวละครที่เกี่ยวข้องได้แก่

1. บริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (AOT) เป็นรัฐวิสาหกิจ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้ว่าจ้าง

2. บริษัทไทยแอร์พอตส์ กราวด์เซอร์วิสเซส จำกัด (TAGS) เป็นบริษัทเอกชนที่ร่วมลงทุนกับ AOT บทบาทสำคัญคือ เป็นผู้รับจ้างที่ได้งานในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิโดยไม่มีการประมูล แข่งขัน

3. บริษัท โฟรบิชเซอร์ เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศ สิงคโปร์ เป็นนักลงทุนต่างประเทศที่ได้เข้ามากว้านซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของ TAGS และปัจจุบันกลาย เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท TAGS ถูกจับได้ว่าเป็นเพียงบริษัทกระดาษ ( Paper Company ) เป็นบริษัทผี เจ้าของตัวจริงไม่ปรากฎร่างให้เห็น

4. บริษัท DETEK เป็น บริษัทที่ปรึกษา จดทะเบียนในหมู่เกาะ บริติชเวอร์จิ้น ( ท่านผู้อ่านอย่าพึ่งยิ้ม ) ใช้ที่อยู่ในการติดต่อที่ประเทศสิงคโปร์ ได้งานมูลค่าร่วม 400 ล้านจาก TAGS มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับบริษัท โฟรบิชเซอร์ เพราะใช้ที่อยู่ที่เดียวกัน

เห็น ตัวละครแล้วน่าสนใจไหมครับ วิธีการโกงซับซ้อนเล็กน้อย แต่เข้าใจได้ไม่ยากนัก ท่านผู้อ่านต้องเห็นใจกันด้วยว่า การจับตัวไอ้โม่งหรืออีโม่ง ให้ได้คาหนังคาเขา นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หลักฐานประกอบบทความนี้มีความชัดเจนมากพอ ที่รัฐบาลสามารถติดตาม และนำคนโกงชาติ มาลงโทษได้อย่างแน่นอน ยกเว้นรัฐบาลทำเสียเอง

เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ

ช่วง เดือนมกราคมต้นปี 2549 หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพธุรกิจหรือประชาชาติธุรกิจ ได้ลงข่าวเกี่ยวกับ บริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (AOT ) และบริษัทไทยแอร์พอตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (TAGS) ประชาชาติธุรกิจถึงกับ จัดทำเป็นสกู๊ปพิเศษ ส่วนกรุงเทพธุรกิจนั้น จำได้ว่ามีการพาดหัวข่าวในเรื่องนี้ว่า “พบคนไทยโผล่ถือ โฟรบิชเซอร์
5 หมื่นหุ้น จดทะเบียนในสิงคโปร์ ”

เนื้อหาสรุปได้ว่า บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด ที่นักเล่นหุ้นรู้จักในนาม AOT ได้อนุมัติให้บริษัทไทยแอร์พอตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (TAGS) เป็นผู้บริหารเขตปลอดอากร และศูนย์โลจิสติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

สัญญานี้มีระยะเวลาให้ทำมาหากินกัน ได้ยาวนานถึง 10 ปี เป็นสัญญางานบริการ บริษัท TAGS ได้ประโยชน์ จากการดำเนินการ คิดเป็นค่าบริหาร 10% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และค่ากำไรอีกร้อยละ 10 สัญญานี้มีมูลค่างานเป็นเงินกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี และเป็นงานต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย 10 ปี มูลค่างานรวมแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท

เรื่องนี้กลายเป็นข่าว เพราะปรากฏว่า AOT ว่าจ้างบริษัท TAGS โดยไม่ต้องมีการประมูลแข่งขัน

เมื่อไม่มีการประมูลแข่งขัน จึงมีคำถามขึ้นมาทันทีว่า บริษัท TAGS เป็นใคร มาจากไหน ใครเป็นเจ้าของ ใครเป็นผู้ถือหุ้น เส้นสายถึงดีเหลือเกิน งานยักษ์กินกันจนตายอย่างนี้ ได้สัญญาโดยไม่ต้องมีการประมูลแข่งขัน ไม่ต้องจัดฮั้ว ไม่ต้องเสียค่าฮั้ว ทำได้อย่างไร

ตรวจสอบบัญชีผู้ถือหุ้นในบริษัท TAGS กันดีกว่าครับ

ข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นช่วงที่ TAGS เริ่มกิจการใหม่ๆ และได้สัญญางานที่สนามบินดอนเมือง ปรากฎว่า AOT ถือหุ้นมากสุด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นของ TAGS ส่วนที่เหลือ แบ่งกันไปหลายราย ไม่มีใครมีหุ้นมากเกินความพอดี เห็นรายชื่อ ชัคเจนว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่คุ้นหน้าคุ้นตากันทั้งนั้น

Picture 1

วันนี้โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่กล่าวมาเมื่อสักครู่ ไม่ใช่โครงสร้างผู้ถือหุ้นปัจจุบันแล้ว หุ้นเปลี่ยนเจ้าของเกือบหมด มีการไล่ซื้อหุ้น จากผู้ถือหุ้นเดิมโดยซื้อในราคาสูงผิดปกติ ( ซื้อหุ้นละ 120 บาท ต้นทุนเจ้าของเดิมเพียงหุ้นละ 50 บาท ) และท้ายที่สุดชื่อ
บริษัท “โฟรบิชเซอร์” จากสิงคโปร์ โผล่มาถือหุ้นถึง 48.5% กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือหุ้นมากกว่า AOT ของเราเสียอีก

01

ถามต่อว่านักลงทุนจากสิงคโปร์ บริษัทนี้คือใคร? ทำไมใจถึง และกล้าเสี่ยงขนาดนี้ เพราะขณะที่ไล่ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมอยู่นั้น งานของTAGS ที่สนามบินดอนเมือง กำลังจะหมด เพราะสนามบินจะปิดอยู่แล้ว

แหล่งข่าวใน AOT บอกว่า บริษัท โฟรบิชเซอร์ มีประสบการณ์การรับงานบริการ สนามบินในประเทศสิงคโปร์ และเชี่ยวชาญระบบ IT ของสนามบินอีกต่างหาก

ฟังแล้วก็เข้าท่าดี แต่สมัยนี้เชื่อถืออะไรยาก จึงมีการค้นเอกสารเพื่อหาข้อเท็จจริงว่า ใครเป็นใคร ในบริษัท โฟรบิชเซอร์

ปรากฎว่าบริษัท โฟรบิชเซอร์มีผู้ถือหุ้นเพียงสองรายเท่านั้น คนแรกเป็นชาวสิงคโปร์ชื่อนายลี ชูฟาง ถือหุ้น 50,000 หุ้น มูลค่า 50,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ คนที่สองเป็นคนไทยชื่อนางเรวดี จันทวิทย์ ถือหุ้น 50,000 หุ้นเช่นกัน นางเรวดี จันทวิทย์ อาศัยอยู่ที่ 1330 หมู่ 3 ถ.นวมินทร์ คลองจั่น บางกะปิ กทม.

นั่นคือที่มาของการพาดหัวข่าว ว่า “พบคนไทยโผล่ถือ โฟรบิชเซอร์”

มี ความพยายามที่จะสอบถามรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคุณพงษ์ศักดิ์ ที่เป็นเจ้ากระทรวงคมนาคม และคุณชัยอนันต์ รมช.ที่รับผิดชอบ ไม่มีคำตอบอะไรที่ชัดเจน เป็นไปตามฟอร์มของรัฐบาลชุดคุณทักษิณ รัฐมนตรีอ้างว่า บริษัทดี มีผลงาน มีคนงานกว่า 3,000 คน ใครเป็นเจ้าของไม่ใช่ประเด็น ขณะที่เรื่องนี้เป็นข่าว รัฐมนตรีรับปากว่าจะไปตรวจสอบอีกครั้ง แต่แล้วเรื่องก็เงียบหายเข้ากลีบเมฆไป

สื่อมวลชน บ้านเราปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมากและทำหน้าที่สื่อที่ดี โดยไม่เพียงแค่นำข่าวรายวันนำเสนอ ต่อพี่น้องประชาชนเท่านั้น แต่มีขบวนการตรวจสอบ ค้นหาความจริง เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจสอบเรื่องของ AOT และ TAGS ลึก ไปจนถึงการค้นหาความจริงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทโฟรบิชเซอร์ ฝ่ายไทยมีตัวตนจริงหรือเปล่า มีเงินลงทุนเป็นร้อยล้านจริงหรือไม่ ใครเป็นเจ้าของบริษัทตัวจริง และนำเงินจากไหนมาลงทุน

ได้คำตอบเกือบครบครับ แต่ทุกอย่างเหมือนกับหยุดนิ่งไป เหมือนกับว่าทุกคนอยากจะรอคำชี้แจงจากรัฐบาลของคุณทักษิณ เพราะรัฐบาลยังชะลอการให้ความเห็นชอบที่จะอนุญาตให้ AOT ลงนามว่าจ้าง TAGS หลายฝ่ายที่เฝ้ามองเรื่องนี้ เชื่อว่ารัฐบาลคงจะไม่กล้าที่จะให้การเซ็นสัญญาอัปยศนี้เกิดขึ้นอย่าง แน่นอน

ผมติดตามเรื่องนี้มาตลอด มีความเชื่อว่า รัฐบาลกำลังนั่งรอโอกาสและ จังหวะที่จะเดินหน้าต่อเพื่อเซ็นสัญญาให้ได้ ไม่ว่าเสียงทักท้วงจะมีมากเพียงใด เรื่องความกล้าได้กล้าเสีย ไม่ต้องห่วง รัฐบาลนี้ไม่เคยกลัว กลัวเพียงแต่ว่าจะรวยไม่พอมากกว่า

เป็นอย่างที่คาดไว้ครับ ขณะที่บ้านเมืองกำลังชุลมุนวุ่นวาย ได้ทราบว่าบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (ทอท.) ได้ลงนามว่าจ้าง TAGS เรียบร้อย โรงเรียนชินวัตรไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549 นี่เองครับ เป็นช่วงของรัฐบาลรักษาการ เป็นช่วงที่คนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ขอยกเว้นการเมืองชั่วคราว ยกเว้นเฉพาะงานการเมือง งานอย่างอื่น Business as usual ใช่ไหมครับ

วันนี้ผมขอเชิญชวนท่านผู้อ่าน ค้นพบความจริงกันที่นี่ อ่าน และตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเอกสารที่นำเสนอ ผมรวบรวมข้อมูลจากที่มีอยู่ในมือและจากที่สื่อได้นำเสนอ นำมาเรียบเรียง เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เข้าใจขบวนการโกง ในระบอบทักษิณได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการโกงในครั้งนี้มีเนื้อหาและรายละเอียดมาก ผมจึงได้แบ่งเรื่องออกเป็นสองส่วนครับ

ส่วนที่หนึ่ง เพื่อหาข้อเท็จจริงว่า บริษัทโฟรบิชเซอร์ มาจากไหน ใครเป็นเจ้าของ มีตัวตนจริงหรือไม่ และนำเงินจากไหนมาลงทุน

มาดูข้อมูลกันครับ

บริษัทโฟรบิชเซอร์ เป็นบริษัทที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น “Paper Company” เป็นเพียงบริษัทที่จดทะเบียน เพื่อใช้ในการลงทุนถือหุ้นเท่านั้น อาจเรียกว่าเป็น holding company คง ไม่ผิด ผมเรียกว่าเป็นบริษัทผี บริษัทโฟรบิชเซอร์ ไม่ได้ประกอบกิจการใด ๆ ที่เป็นเรื่องเป็นราว พูดง่าย ๆ ว่าไม่มีลูกจ้างก็แล้วกัน ไม่ต่างมากนักกับ Ample Rich หรือ Win Mark ครับ

บริษัทโฟรบิชเซอร์ มีทุนจดทะเบียน 100,000 เหรียญสิงคโปร์ คือประมาณ 2.4 ล้านบาท

02

และมีผู้ถือหุ้นเพียง 2 ราย   รายแรกคือ นายลี ซู ฟาง ถือหุ้นร้อยละ 50  นายลี ซู ฟาง ทำหน้าที่ทุกอย่าง  เป็นผู้ถือหุ้น เป็นกรรมการ  เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี    ปรากฏว่า ที่อยู่ของนายลี ที่อยู่ของบริษัทโฟรบิชเซอร์   ที่อยู่ของบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี ตั้งอยู่เลขที่เดียวกันหมดครับ คือ    128 A,Tangong pagar Road, Singapore (088535)   ลักษณะนี่แหละครับที่เขาเรียกกันว่า บริษัทกระดาษ (Paper Company) เจ้าของตัวจริงไม่เปิดเผยชื่อ  มอบให้สำนักงานทนายดำเนินการทุกเรื่อง

03

แล้วผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยล่ะครับ  เป็นใคร   ชื่อคุณเรวดี จันทวิทย์ ครับ   ถือหุ้นทั้งหมด 50,000 หุ้น

04

ที่แปลกดีก็คือ หุ้นจำนวน 50,000 หุ้นนี้   เก็บไว้ในนามของ trust     แปลว่า คุณเรวดี ไม่ใช่เจ้าของหุ้นตัวจริงแน่นอน เชื่อได้ว่าเจ้าของหุ้นที่แท้จริงคือเจ้าของ trust  การนำทุกอย่างไปหมกไว้ที่     trust   ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบชื่อเจ้าของตัวจริงได้โดยง่าย

จะดูว่าบริษัทนี้มีธุรกิจจริงจังหรือไม่   ต้องดูจากงบดุลของบริษัทครับ

ผลการประกอบธุรกิจของบริษัท นี้ หน้าตาเป็นอย่างนี้

Picture 2

0506

ไม่น่าเชื่อใช่ไหมครับ  นี่ละครับ บริษัทที่มีการอ้างถึงว่าเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์สูง  มีเงินทุนมหาศาล    โธ่เอย!  ร้านชายสี่หมี่เกี๊ยว  ปากซอยหน้าบ้าน ยังมีรายได้มากกว่า

พูด ง่าย ๆ คือ  บริษัทนี้มีแต่ชื่อ ไม่ได้ทำธุรกิจอะไร   ลงทุนก็ไม่ได้ลงทุนที่ไหน  เป็นแต่เพียงบริษัทบนแผ่นกระดาษเท่านั้น  เป็นบริษัทผีจริงจริงด้วย

07

ตรวจ สอบจากเอกสารพบว่า บริษัทได้เริ่มมีการลงทุน    โดยการนำเงินไปลงทุนในกิจการอื่นเป็นเงิน   198  ล้านบาท  น่าจะเป็นเงินที่ใช้ในการไล่ซื้อหุ้นของบริษัทTAGS จากผู้ถือหุ้นเดิม   เงินนี้มาจากไหน   อ่านจบแล้วจะมีคำตอบครับ

เอกสาร ที่ผมนำเสนอเป็นเอกสารของบริษัท โฟรบิชเซอร์  ที่ต้องรายงานต่อรัฐบาลสิงคโปร์   เนื่องจากบริษัทโฟรบิชเซอร์ เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์  ข้อมูลจึงหาไม่ยาก   ถ้าเป็น  Ample Rich  หรือ  Win Mark ที่ตั้งอยู่ที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น   ก็คงไม่มีข้อมูลให้ได้เห็นกันหรอก

จากหลักฐาน    เห็นชัดแล้วนะครับว่า

1.   โฟรบิชเซอร์   เป็นเพียงบริษัท นอมินี

2.   เจ้าของบริษัท มี สองคน  คนหนึ่งเป็นคนไทย ถือหุ้นโดย ซ่อนหุ้นไว้ในรูปแบบ ของ trust เพื่อ หลีกเลี่ยงการเปิดเผยชื่อเจ้าของตัวจริง   อีกคนเป็นชาวสิงคโปร์  เชื่อได้ว่าเป็นเพียงทนายที่ได้รับมอบอำนาจ ดำเนินการในการดูแล ระบบบัญชีของบริษัท  ไม่ใช่เจ้าของบริษัทตัวจริง

3.   มีการนำเงิน  198 ล้านบาท  ที่ปรากฎตามบัญชี     กว้านซื้อหุ้น เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่   ก่อนที่บริษัทจะได้งาน สัญญา 10 ปี  จาก AOT โดยไม่ต้องมีการประมูลแข่งขัน

ความจริงเรื่องการตั้งบริษัทกระดาษ  (Paper Company ) ไว้ ที่ต่างประเทศ  ไม่พิสดารตรงไหน  มีนักธุรกิจคนไทยบางกลุ่ม บางคน ตั้งบริษัทไว้ในต่างประเทศ  แล้วใช้ชื่อบริษัทเหล่านี้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน  หรือทำสัญญากับบริษัทคู่ค้าที่อยู่ต่างประเทศ   นักธุรกิจแบบนี้ มีให้เห็น  เขาทำไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารภาษีบ้าง    ไม่อยากให้มีใครรู้ถึงการลงทุนของตนและครอบครัวบ้าง     มีสารพัดทุกรูปแบบ

แต่ รายการนี้เป็นเรื่องขึ้นมา   ก็เพราะไอ้ โม่งหรือ อีโม่ง นี้วางแผนโกง โดยการสมรู้ร่วมคิดกับผู้มีอำนาจบางคน  แฝงตัวมาในรูปแบบของนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ เข้าซื้อกิจการในบริษัทเอกชนไทยที่มีรัฐวิสาหกิจของเราร่วมเป็นผู้ถือหุ้น   ทำให้ได้มาซึ่งสัญญาสัมปทาน 10ปี กับรัฐวิสาหกิจของรัฐ โดยไม่มีการประมูลแข่งขันแต่ประการใด

ที่น่าอับอายคือ AOT ครับ   เป็นถึงรัฐวิสาหกิจ   ประชาชนมอบหมายให้ไปทำหน้าที่ดูแลกิจการของสนามบินทั่วประเทศ    AOT ยอมตกเป็นเครื่องมือของไอ้โม่ง อีโม่ง   วันที่คณะกรรมการบริหาร อนุมัติให้ AOT ลงทุนตั้งบริษัท TAGS ร่วมกับภาคเอกชน เช่น บริษัท Lufthansa  บริษัท KLM  บริษัท British Airways  หรือ  ทาฟ่าไทย    เพราะเอกชนเหล่านี้ มีตัวตน  น่าเชื่อถือ และเป็นกลุ่มบริษัทที่เป็นผู้ประกอบการ  เกี่ยวข้องกับกิจการสนามบินทั้งสิ้น

วันนี้เอกชนเหล่านี้ถอนตัวออกจาก TAGS ไปเกือบหมดแล้ว   คงเหลือแต่ AOT ที่ ยังเหนียวแน่น    มีหุ้นในบริษัทจำนวนเท่าเดิม   แถมได้หุ้นส่วนใหม่  เป็นบริษัทผี  ไม่มีใครรู้หัวนอนปลายตีน       ท่านผู้อ่านคิดว่า   มีใครในโลกนี้บ้างที่คิดจะลงทุนประกอบกิจการโดยไม่สนใจว่าหุ้นส่วนเป็น ใคร  นำเงินสกปรกจากไหนมาร่วมกิจการด้วย  ไม่มีหรอกครับ   จะมีก็แต่ AOT  รัฐวิสาหกิจของเราที่ดูเหมือนว่าจะไม่สนใจว่าหุ้นส่วนในการทำธุรกิจ จะเป็นไอ้โม่งหรืออีโม่งจากไหนก็ได้

เรื่องนี้คงไม่จบกันง่ายง่าย  ใช่ไหมครับ

ต้อง ดูกันต่อไปว่า คนไทยที่เป็นเจ้าของบริษัท โฟรบิชเซอร์  เป็นใคร  นำเงินจากไหนมากว้านซื้อหุ้นเป็นร้อยล้านบาท  ท่านผู้อ่านรู้ความจริงแล้วคงจะกลุ้มใจว่าบ้านเมืองในระบอบทักษิณทำกันถึง ขนาดนี้เชียวหรือ

ส่วนที่สองครับ ส่วนนี้มีสองประเด็นที่เป็นหัวใจของเรื่อง

ประเด็นแรก คุณ เรวดี  จันทวิช  ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยในบริษัทโฟรบิชเซอร์ คือใคร  มีฐานะระดับมหาเศรษฐี  มีเงินลงทุนเป็นร้อยล้านจริง หรือว่าเป็นเพียงตัวแทน  ซุกหุ้นให้ไอ้โม่งหรืออีโม่งเท่านั้น

ประเด็นที่สอง ใครเป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ  ทำตัวเป็นนายหน้าในนามของบริษัทโฟรบิชเซอร์    นำเงินจากไหน   มาใช้ในการไล่กว้านซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท TAGS

ดูประเด็นแรกกันก่อน

สื่อ ของเราเขาขยันครับ  เมื่อตรวจพบว่า คุณเรวดี  จันทวิช  นักลงทุนคนไทย   พักอยู่ที่บ้านเลขที่ 1330  ถนนสุขาภิบาล 1   คลองจั่น  บางกะปิ   ก็อยากจะพบเพื่อขอสัมภาษณ์ รีบเดินทางไปพบถึงบ้านทันที

Picture 3

ผม เองเป็นคนช่างสงสัยไม่ต่างกับน้องน้องนักข่าวเหมือนกัน  ส่งผู้ช่วยไปตรวจสอบว่าบ้านหลังดังกล่าวมีสภาพเป็นจริงตามที่กรุงเทพธุรกิจ นำมาแสดงให้ดูหรือเปล่า

ผมพึ่งจะไปตรวจสอบเมื่อไม่กี่อาทิตย์นี่เอง  ช้าไปนิดหนึ่ง  ดูภาพถ่ายซิครับ     บ้านทั้งหลังถูกรื้อทิ้งหมดแล้ว

09

ภาพบ้านเลขที่ 1330 ซึ่งปัจจุบันรื้อถอนไปแล้วอยู่ระหว่างการก่อสร้างใหม่

น่า แปลกมาก ๆ   พอได้ ตรวจสอบเชิงลึกเพิ่มขึ้น    พบว่า คุณ เรวดี  จันทวิช  ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 89/337  หมู่ที่ 5  แขวงคลองกุ่ม  เขตบึงกุ่ม  กทม.  ได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านหลังใหม่นี้เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน  2548

10

บ้านเลขที่ 89/337 หมู่ที่ 5  แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

บ้านเลขที่ 89/337 หมู่ที่ 5 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

Picture 4

ทั้งหมดคือเรื่องของ ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย ชื่อ เรวดี จันทวิช

ประเด็นที่สอง คือ   ที่มาของแหล่งเงินที่นำมาใช้ในการซื้อหุ้น น่าสนใจ คือข้อมูลที่สื่อได้นำเสนอเกี่ยวกับ การที่บริษัท TAGS ได้ลงนามสัญญาว่าจ้าง บริษัทที่ปรึกษา DETEK เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2547      รายละเอียดงานที่บริษัทที่ปรึกษา DETEK   ต้อง ทำตามสัญญามีมากมาย    แต่มีข้อสรุปว่า  ต้องใช้ต่างชาติมาช่วยงานให้คำปรึกษา ประมาณ 15 คน  ทำงานทั้งหมดตามสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2548  นับเวลาทั้งสิ้น 5 เดือนจากวันที่ลงนามในสัญญาครับ

ท่าน ผู้อ่านเชื่อไหมว่า  สัญญานี้มีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 400 ล้านบาท  ทำให้สงสัยกันว่า  ค่าที่ปรึกษาอะไรกัน  ใช้ผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ทำงานเพียง 5 เดือน  ได้รับค่าจ้างเป็นเงินถึง 400 ล้านบาท

13

ทุกคนจึงมุ่งไปที่ บริษัท Detek   ครับ   คำถามเดิมเดิมก็คือ   บริษัท Detek เป็นใคร   โผล่มาจากไหน     เมื่อได้ตรวจสอบสัญญาพบว่า   มีฝรั่งต่างชาติชื่อ   Mr. Jurgen Albert Moschner  เป็นตัวแทนบริษัท  และ บริษัทนี้มีที่อยู่ที่ 128  Tanjong  Pager Road, Singapore 088 535

1415

สังเกตที่อยู่ของบริษัท Detek ซิครับ   คุ้นไหม  ที่อยู่เลขที่นี้  จะไม่คุ้นได้อย่างไร  เพราะปรากฎว่า  บริษัทโฟรบิชเซอร์ บริษัทผี  ใช้ที่อยู่ที่เดียวกับบริษัท Detek นั่นเอง  ตรงนี้แหละครับ   เป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นได้ชัดเจนว่า  มีอะไรไม่ชอบมาพากล    บริษัท Detek  และบริษัท โฟรบิชเซอร์   กลายเป็นพวกเดียวกันเสียแล้ว

ผมข้องใจเช่นกันว่าบริษัท Detek  เป็น ของใคร    ตรวจสอบข้อมูลจากทะเบียนบริษัทของสิงคโปร์ก็ไม่พบ  แสดงว่าบริษัทไม่ได้จัดตั้งในประเทศสิงคโปร์อย่างแน่นอน  นึกในใจว่า  เป็นไปได้หรือไม่ที่บริษัทนี้อาจเป็น copy cat  ของ บริษัท  Ample Rich  คือ เป็นบริษัทที่จัดตั้งในหมู่เกาะ บริติชเวอร์จิ้น  แต่ใช้ที่อยู่ในการติดต่อที่สิงคโปร์

ถ้าผมเป็นคนชอบแทงหวย ต้องรวยเละแน่เลยครับ  เพราะเป็นจริงแบบที่ผมคาดหมายไว้ทุกประการ

Picture 5

ผมจะหยุดแค่ตรงนี้ก่อน  โดยขมวดปมทั้งหลายไว้อย่างนี้ครับ

1.   คุณเรวดี  จันทรวิทย์  (มาถนอม)  ไม่น่าจะเป็นนักลงทุนตัวจริง เชื่อได้ว่าเป็นนอมินี   ทำการแทนให้กับ
อีโม่งหรือไอ้โม่ง

2.   เงินที่บริษัท โฟรบิชเซอร์ ใช้ในการไล่ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท  TAGS อาจเป็นเงินที่บริษัท  Detek  มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย   บริษัท  Detek  เป็นบริษัทข้ามชาติ  จัดตั้งที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน  เช่นเดียวกับ  Ample Rich หรือ Win Mark  และใช้ที่อยู่ในการติดต่อหรือสำนักงานแห่งเดียวกับบริษัทโฟรบิชเซอร์  ที่ประเทศสิงคโปร์  ไม่มีเหตุผลใดๆทั้งสิ้นที่จะเป็นเรื่องบังเอิญ

สรุปสองข้อนี้ก็พอจะเห็นภาพได้ชัดแล้ว  ต่อนี้ไปเราต้องพุ่งความสนใจไปที่บริษัทTAGS  ครับ

TAGS  เป็นบริษัทที่รัฐวิสาหกิจของเราคือ  AOT ถือหุ้นถึง ร้อยละ 28.5    จึงมีคำถามง่ายง่ายขึ้นมาว่าใครเป็นคนอนุมัติให้  TAGS ว่าจ้าง  Detek  เป็นเงินถึง  400  ล้านบาทเพราะเห็นชัดว่าเป็นการนำเงินออกจากบริษัทอย่างมีเลศนัยอย่างแน่นอน  กรรมการของบริษัท TAGS  ที่เป็นตัวแทนจาก  AOT  ปล่อยให้ผู้บริหาร  TAGS   ทำปู้ยี้ปู้ยำกับบริษัทได้อย่างไร

คำถาม อย่างนี้ ถ้าอยากรู้ต้องตรวจสอบที่รายงานการประชุม  เงินมากขนาดนี้ผู้บริหารไม่มีสิทธิอนุมัติตามใจชอบอย่างแน่นอน  ต้องมีการพิจารณาอนุมัติในระดับคณะกรรมการ

ผม ค้นดูรายงานการประชุมแล้วก็ปวดหัว  เพราะการประชุมในวันเดียวกันแต่มีรายงานการประชุม  สองชุดไม่เหมือนกัน  ท่านผู้อ่านอ่านดูเองก็แล้วกัน

รายงานฉบับแก้ไข ข้อ3 เพิ่มข้อมูลการว่าจ้าง DETEK

รายงานฉบับแก้ไข ข้อ3 เพิ่มข้อมูลการว่าจ้าง DETEK

รายงานการประชุมชุดแรกไม่ปรากฎเรื่องเกี่ยวกับการว่าจ้างบริษัท Detek  แต่ รายงานชุดที่สองมีเนื้อหาครบถ้วน    แปลว่าอะไร    แปลว่าเวลาประชุมจริงไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้  จึงไม่ปรากฎในรายงานประชุม   แต่เมื่อมีการตรวจสอบบัญชีประจำปี โดยสำนักงานผู้ตรวจสอบบัญชี    จึงมีการทำรายงานการประชุมขึ้นใหม่ แก้ไขและเพิ่มข้อความเพื่อแสดงว่าการจ่ายเงินค่าจ้าง 400 ล้านได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้ว  หรือเปล่า

ท่าน ผู้อ่านคงสงสัยว่าผมเพ้อเจ้อ    ใครจะกล้าโกงกินกันถึงขนาดนี้   ผมขออนุญาตเรียนว่า  เอกสารที่ผมนำเสนอเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ     ทราบด้วยว่ามีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบด้วยซ้ำ  แต่เรื่องเงียบหายไป นี่แหละครับ  ระบอบทักษิณ  ที่คนเขากลัวกัน

ถ้าจะถามว่า  แล้วบริษัท  TAGS   ได้จ่ายเงินให้บริษัท DETEK เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่    หลักฐานที่มีในมือปรากฎว่า  จ่ายไปแล้วสองงวดครับ

19Picture 8Picture 9

ท่าน ผู้อ่านครับ ทั้งหมดที่ผมได้เล่าให้ฟังเป็นเรื่องร้ายแรง มีขบวนการยักยอกเงินออกจากบริษัทเอกชนที่รัฐวิสาหกิจของเราเป็นหุ้นส่วน อยู่ และนำเงินบางส่วนนี้มาใช้ในการไล่ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มใหม่ ไอ้โม่งหรืออีโม่งนี้ไม่ปรากฎตัวตนชัดเจน ใช้วิธีการจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศ แสดงตนเหมือนว่าเป็น นักลงทุนจากสิงคโปร์ สนใจจะลงทุนในบริษัทไทย

เมื่อบริษัทผี ได้ซื้อหุ้นเรียบร้อย และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท TAGS แล้ว บริษัท TAGS ก็ได้งานจากรัฐวิสาหกิจของเราโดยไม่ต้องประมูล

เรื่อง นี้เกิดขึ้นมานานแล้ว คนที่มีหน้าที่ติดตามการทำงานของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน หรือนักการเมืองอย่างพวกผม ได้เฝ้าจับตามองว่าผลสุดท้ายแล้วเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร เฝ้าดูว่าท้ายที่สุดแล้ว จะมีการลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท TAGS หรือไม่

เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ครับ ท้ายที่สุด รัฐบาลรักษาการของคุณทักษิณ ได้อนุมัติให้ รัฐวิสาหกิจของเราคือ AOT ลงนามว่าจ้างบริษัท TAGS ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นไอ้โม่งหรือ อีโม่ง ได้สัญญางานในสนามบินสุวรรณภูมิ สัญญาอย่างน้อย 10 ปี มูลค่า เป็นหมื่นล้านบาท โดยไม่มีการประมูลแข่งขันประการใด

เชื่อ ได้ว่าวันหนึ่งในภายหน้าเมื่อ ระบอบทักษิณ ถูกขจัดออกไป เรามีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่มีความเป็นกลาง และได้เริ่มทำงานอย่างจริงจัง เราก็จะได้รู้กันเสียทีว่า ไอ้ หรือ อีโม่ง ที่วางแผนโกงแผ่นดินนี้ คือใคร

วันนี้มีได้แต่เพียงคำถาม ที่ประชาชนต้องการคำตอบ จากรัฐบาลคุณทักษิณสั้น ๆ ว่า “เมื่อไหร่พวกคุณถึงจะพอ”

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา