ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในสายตาฯ

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในสายตาฯ

28 พฤศจิกายน 2551

ได้อ่านบทความเมื่อเช้า ( 27 พ.ย. ) นี้เองครับ อ่านแล้วไม่แปลกใจ แต่ก็ไม่สบายใจเอามากๆ

ผมเป็นแฟนของ The economist มานานแล้ว ได้ความรู้มากขึ้นทุกครั้งเมื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของโลก พูดคุยกับใครก็มักจะแนะนำหรืออ้างถึง The Economist มาโดยตลอด

มาเริ่มติดใจก็ช่วงที่มีการปฏิวัติในประเทศเมื่อวันที่ 19 กันยายน สังเกตได้ว่าความเห็นทางการเมืองของ The Economist ที่เกี่ยวกับประเทศไทย มักจะเป็นไปในทางลบ มองในแง่ดีจับจุดยืนของ
The Economist ได้ว่า ชื่นชมระบอบประชาธิปไตย จะเป็นของจริง จะเป็นของปลอมไม่ว่ากัน ขอให้มีการเลือกตั้งเป็นใช้ได้ จะซื้อเสียงขายเสียงหรือโกงเลือกตั้งก็ไม่เป็นไร The Economist มีความเห็นเสมอต้นเสมอปลายว่าถึงอย่างไรมีการเลือกตั้งดีกว่ามีการปฏิวัติ รัฐประหาร

แต่ถ้ามอง The Economist ในแง่ร้าย ก็อาจเดาได้ว่า ล๊อบบี้ยิ้สต์ที่ช่วยงานด้านประชาสัมพันธ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณทำงานได้ผลเป็นอย่างยิ่ง บทความการเมืองของ The Economist ( และอีกหลายฉบับ ) จะสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณอย่างออกหน้าออกตา และเล่นงาน คมช.และรัฐบาลขิงแก่ทุกครั้งที่มีโอกาส

ผมเสียเวลาร่ายยาวเกี่ยวกับ The Economist เพราะผมถือว่าการติดตามข่าวสารและความเห็นของสื่อต่างประเทศโดยเฉพาะฉบับที่ มีผู้อ่านนับล้านเป็นเรื่องจำเป็น เราจำเป็นต้องรู้ต้องศึกษว่าคนนอกบ้านเขาคิดอย่างไรกับเรื่องในบ้านของเรา โลกสมัยนี้เป็นโลกที่แคบลงทุกวัน อยู่ตัวคนเดียวแบบโดดเดี่ยวคงจะลำบาก

ผมกล่าวตั้งแต่เบื้องต้นว่าผมไม่สบายใจ เพราะเนื้อหาของบทความในครั้งนี้มีการกล่าวถึงสถาบันที่เราเทิดทูลในทางที่ ไม่สมควร ถือได้ว่าเป็นการกล่าวหาแบบคิดไปเองหรือเป็นการคาดเดา มากกว่าที่จะใช้เหตุและผล

สรุปเนื้อหาของบทความบางช่วงบางตอนไว้อย่างนี้ครับ ( ไม่ลงส่วนที่ไม่เหมาะสม )

Too much or too little? ประชาธิปไตย มากเกินหรือน้อยไป ?

THAILAND’S three-year-old political crisis continued to rage this week, as the increasingly desperate anti-government movement, the People’s Alliance for Democracy (PAD), made a last-ditch effort to provoke violence and force the army to stage another coup. It invaded Bangkok’s main airport, prompting the army chief to call on the government to dissolve parliament and for the PAD itself to cease its protests. The PAD’s thuggish tactics have lost it much of the support it once had among Bangkok’s middle classes. Only a fraction of the promised crowd of 100,000-plus materialised this week for its “final” push to overturn the government. Pro-PAD union bosses’ calls for a general strike were generally ignored……………………………….

วิกฤตการเมือง ๓ ปีของประเทศไทยได้มาถึงจุดเดือดในสัปดาห์นี้ พันธมิตรที่กำลังอ่อนแรงได้ใช้ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะยั่วยุให้เกิด ความรุนแรงและกดดันให้ทหารทำการปฎิวัติ พันธมิตรได้บุกเข้าไปในสนามบินหลักของกรุงเทพ กดดันให้ผู้บัญชาการทหารบกต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาและให้พันธมิตร สลายตัวการชุมนุม ยุทธศาสตร์แบบโหด ๆ ทำให้พันธมิตรสูญเสียการสนับสนุนจากคนชั้นกลางในกรุงเทพที่เคยสนับสนุน มีคนเพียงส่วนน้อยปรากฎตัวเพื่อผลักดันให้มีการเปลี่ยนรัฐบาลในสัปดาห์นี้ จากจำนวนกว่าแสนที่ได้สัญญาว่าจะมา หัวหน้าสหภาพแรงงานที่เป็นฝ่ายพันธมิตรเรียกร้องให้มีการหยุดงานแต่ก็ไม่ได้ รับความสนใจ…………

The PAD began in late 2005 as a series of peaceful weekly rallies in a Bangkok park against the then prime minister, Thaksin Shinawatra. It gained traction because Mr Thaksin seemed to regard an electoral mandate as a licence to do as he pleased. Critics were menaced; conflicts of interest between Mr Thaksin’s powers as prime minister and his business empire went unchecked; and he sought to pack the country’s institutions with cronies. Only when his attempts to do this with the army’s senior command finally exhausted rival factions’patience did he come a cropper, being removed in the coup of 2006.

พันธมิตรเริ่มก่อตัวเมื่อปลายปี ๒๕๔๘ โดยการชุมนุมอย่างสงบทุกสัปดาห์ที่สวนสาธรณะในกรุงเทพมหานครต่อสู้กับทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น การต่อสู้ได้รับการสนับสนุนที่ดีขึ้นเพราะทักษิณได้ทำตัวเสมือนว่าคะแนน เลือกตั้งที่ได้รับเป็นการมอบอำนาจหรือใบอนุญาตให้ทำอะไรตามอำเภอใจได้ ใครที่วิจารณ์(ทักษิณ) ถูกคุกคาม ผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างอำนาจของทักษิณจากการเป็นนายกรัฐมนตรีและธุรกิจ ส่วนตัวขาดการตรวจสอบ และทักษิณทำทุกวิถีทางที่จะตั้งเพื่อนสนิทเต็มไปหมดในองค์กรของประเทศ เมื่อเขาได้พยายามทำสิ่งเหล่านี้กับผู้บัญชาการระดับสูงของทหารทำให้ฝ่ายตรง ข้ามหมดความอดทน เขากลายเป็นผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์ที่ถูกปลดออกโดยการปฎิวัติเมื่อปี ๒๕๔๙

But the PAD has shown itself to be at least as bad. As it goes all-out to bring down the government of Mr Thaksin’s allies, elected last December in a restoration of democracy, its tactics have become ever more threatening. This week its “security guards” shot at government supporters, brandished iron bars at police and hijacked buses. Arguing that ordinary Thais are too “uneducated” to vote for sensible leaders, the PAD is openly pushing for a return to the semi-democracy of the 1980s, with governments dominated by the traditional elite, ……..and the army.

แต่พันธมิตรก็ได้ทำตัวไม่ดีไม่น้อยไปกว่ากัน ขณะที่พันธมิตรสู้อย่างหมดตัวเพื่อล้มรัฐบาลของพวกพ้องทักษิณที่ได้รับการ เลือกตั้งเมื่อปลายเดือนธันวาคมจากการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ของพันธมิตรกลายเป็นการข่มขู่มากขึ้น สัปดาห์นี้การ์ดพันธมิตรยิง ปืนใส่ผู้สนับสนุนรัฐบาล

talk_511128_2

แกว่งท่อนเหล็กใส่ตำรวจและจี้รถโดยสารสาธารณะ พันธมิตรอ้างว่าคนไทยทั่วไปมีการศึกษาไม่ดีพอที่จะเลือกผู้นำที่ดี

พันธมิตรผลักดันให้เกิดการกลับมาของประชาธิปไตยครึ่งใบเหมือนเมื่อช่วงปี ๒๕๓๐ อย่างเปิดเผย พร้อมกับให้มีรัฐบาลที่เต็มไปด้วยกลุ่มผู้มีอภิสิทธิ์แบบเดิมๆ…และกองทัพ

In 1997, as Thailand passed what was widely seen as its most democratic constitution, the country looked set to be a beacon of pluralism in a region that badly needed such a shining light. Now it looks like a poor advertisement for democracy. It has disappointed those hoping it would follow the upwards path of other formerly authoritarian countries, like Spain and Brazil. Instead of evolving into a stable parliamentary democracy, it is back to being a country of coups, street fights and torn-up constitutions.

ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ ประเทศไทยได้ผ่านรัฐธรรมนูญที่กล่าวกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นประชาธิปไตยมาก ที่สุด ประเทศถูกมองว่าเป็นความหวังของสังคมที่มีความแตกต่างกันในภูมิภาคที่ ต้องการแสงสว่างของประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก วันนี้ดูเสมือนเพียงการโฆษณาประชาธิปไตยที่ไม่มีราคา มันทำความผิดหวังให้กับผู้ที่หวังว่าประเทศไทยจะเดินตามรอยประเทศเผด็จการ ในอดีต เช่น สเปน และ บราซิล แทนที่ (ประเทศไทย) จะค่อย ๆ พัฒนาเป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่มั่นคง กลับไปเป็นประเทศที่มีการ
ปฏิวัติ มีการต่อสู้บนท้องถนน และมีการฉีกรัฐธรรมนูญ

จากนั้นผู้เขียนได้กล่าวถึงประเทศฟิลิปปินส์และผู้นำเช่น ลี กวน ยู รวมทั้งประเทศอินโดนิเชีย

ท้ายที่สุดผู้เขียนได้สรุปไว้ว่า

So all is not lost yet. Returning to London this week after three years as The Economist’s South-East Asia correspondent, this writer departs as convinced as ever—despite the superficial signs to the contrary—that Asians are potentially just as capable as Scandinavians at running their affairs democratically if given a chance—and, just as important, if they seize it.

ทุกอย่างยังไม่สูญเสียไปทั้งหมด กลับกรุงลอนดอนในสัปดาห์นี้หลังจากเป็นผู้สื่อข่าวประจำเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้มาเป็นเวลา ๓ ปี ผู้เขียนจากไปพร้อมกับความมั่นใจ(ถึงแม้ว่าภาพที่เห็นอย่างผิวเผินอาจดูเป็น อย่างอื่น) ว่าเอเชียมีความสามารถเหมือนสแกนดิเนเวียที่จะบริหารประเทศอย่างเป็น ประชาธิปไตยได้ถ้าเขาได้รับโอกาส และที่สำคัญเท่ากัน ถ้าเขาฉวยโอกาสนั้น

อ่านฉบับเต็มได้ที่ http://www.economist.com/world/asia/displayStory.cfm?story_id=12672673

รูปด้านล่างลงใน Los Angeles Times ………. พันธมิตรเสื้อเหลืองดังเสียเหลือเกิน

Thailand protesters shut down Bangkok airport

talk_511128_3

Sakchai Lalit / Associated Press

Members of the People’s Alliance for Democracy swarm a departure area at Suvarnabhumi Airport in Bangkok, temporarily halting all outbound flights. The protesters are seeking the ouster of Thai Prime Minister Somchai Wongsawat.

Hundreds seeking to oust the prime minister occupy the terminal, prompting officials to cancel all flights. Protest sympathizers and government supporters clash on the streets; 11 are injured.

By Paul Watson
November 26, 2008

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา