Three Hundred

Wed, Aug 31, 2011

English | การเมือง

ประสบกับตัวเองครั้งแรกเมื่อปี 1968 เป็นช่วงซัมเมอร์ ว่างจากเรียนจึงคิดหางานทำ นายจ้างบอกว่าผมไม่มีประสบการณ์  จ้างได้ แต่ได้ค่าจ้างแค่ขั้นต่ำ  นายจ้างจ่ายผม  $ 2.50 ต่อ ช.ม. กำลังอยู่ในวัยเรียน มีงานหารายได้พิเศษ  เท่าไหร่ก็ไม่เกี่ยงครับ กว่า ๔๐ ปีแล้ว ตรวจสอบแล้ววันนี้ค่าแรงขั้นต่ำของสหรัฐน่าจะอยู่ประมาณ $ 8.00 –  $ 9.00 ต่อ ช.ม.

ดังนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อนเลยว่า อัตราค่าแรงขั้นต่ำหมายถึงค่าจ้างแรงงานที่ไม่มีทักษะฝีมือใดๆทั้งสิ้น  ถ้านักการเมืองบอกว่ากำหนดค่าแรงขั้นต่ำไว้ที่ ๓๐๐ บาทต่อวัน แต่มีข้อแม้ว่าต้องผ่านการอบรม  แสดงว่าเขาไม่เข้าใจหรือแกล้งโง่เท่านั้นเอง เพราะเมื่อเพิ่มทักษะฝีมือให้ลูกจ้างแล้ว   ลูกจ้างควรที่จะได้ค่าแรงในอัตราตามความสามารถ  ไม่ใช่ได้ค่าจ้างในอัตราเพียงขั้นต่ำ

บ้านเราคิดค่าแรงขั้นต่ำเป็นรายวันครับ  หลายประเทศเขาใช้ฐานคิดค่าแรงขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมงเช่นที่สหรัฐอเมริกา  เพราะมีแรงงานที่เป็นนักเรียน  นิสิต นักศึกษา แม่บ้าน ที่ไม่พร้อมทำงานเต็มเวลาแต่ต้องการทำงานเป็นรายชั่วโมงเป็นจำนวนมาก  หลักคิดของการคำนวนค่าแรงขั้นต่ำเป็นรายวันและไม่ยืดหยุ่นแบบของเราทำให้ตลาดแรงงานแคบลง  นายจ้างอาจต้องการว่าจ้างเป็นรายชั่วโมงได้แต่ก็จะมีอุปสรรคมาก   คุณอภิสิทธิ์มอบให้กระทรวงแรงงานไปดำเนินการปรับปรุงมาตรการในเรื่องนี้แล้ว   แต่ก็ไม่ได้ดังใจเพราะหน่วยงานราชการจะใช้เวลานานกว่าจะได้ข้อยุติ

ผมมาเจอเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้งตอนที่ผมพักงานทางการเมือง (ช่วงปฏิวัติ รสช.)   เข้าอบรมผู้บริหารระดับสูงที่มหาวิทยาลัย Stanford   นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง lecture เรื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ   ท่านผู้รู้กล่าวว่ารัฐฯไม่ควรกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเสียด้วยซ้ำ เพราะทำให้คนตกงานเนื่องจากนายจ้างต้องจ้างคนงานในอัตราค่าแรงที่สูงเกินไป  ทำให้ต้นทุนการประกอบธุรกิจสูง ประเด็นนี้ถกเถียงกันจนหมดเวลา lecture ก็หาข้อสรุปไม่ได้

ลองคิดแนวนี้ดูบ้างครับ   การดำเนินธุรกิจค้าขายเป็นของภาคเอกชน   จะกำไรหรือขาดทุน  ภาระภาษีของเขานั้นมีอยู่แล้ว ถามว่ารัฐฯใช้อำนาจจากไหนที่จะมากำหนดว่าภาคเอกชนต้องจ้างคนงานในอัตราค่าจ้างเท่าไหร่   อย่างไร   ไม่ใช่เป็นเรื่องสมยอมระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ใช่หรือ

In 1912, Massachusetts organized a commission to recommend non-compulsory minimum wages for women and children. Within eight years, at least thirteen U.S. states and theDistrict of Columbia would pass minimum wage laws.1[2] The Lochner era United States Supreme Court consistently invalidated compulsory minimum wage laws. Such laws, said the court, were unconstitutional for interfering with the ability of employers to freely negotiate appropriate wage contracts with employees.2[3]

The first attempt at establishing a national minimum wage came in 1933, when a $0.25 per hour standard was set as part of the National Industrial Recovery Act. However, in the 1935 court case Schechter Poultry Corp. v. United States (295 U.S. 495), the United States Supreme Court declared the act unconstitutional, and the minimum wage was abolished. ( Wikipedia )

ผมนำข้อมูลของกระบวนการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นกฎหมายในสหรัฐจาก wikipedia  มาเป็นข้อมูลประกอบ จะเห็นว่ารัฐบาลสหรัฐพยายามหลายครั้งกว่าจะออกกฎหมายกำหนดค่าแรงขั้นต่ำได้  เพราะตอนเริ่มใหม่ๆก็ถูกศาลวินิจฉัยว่าไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด  รัฐฯจะแทรกแซงกิจการของภาคเอกชนไม่ได้

บ้านเราทำเรื่องค่าแรงขั้นต่ำโดยใช้รูปแบบของคณะกรรมการ  เป็นคณะกรรมการสามฝ่าย ให้ผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสียคือ รัฐบาล ตัวแทนนายจ้าง และ ตัวแทนลูกจ้าง เป็นกรรมการ  พิจารณากำหนดค่าแรงขั้นต่ำและให้ความเห็นชอบร่วมกันครับ

นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์หาเสียงไว้ว่าจะปรับค่าแรงขึ้นอีกร้อยละ ๒๕ ภายในเวลาสองปี  ไม่บอกว่าเราทำได้ทันที  เพราะเราต้องการให้ภาคเอกชนได้มีเวลาปรับตัว  ปรับสภาพธุรกิจ  ให้ภาคเอกชนได้เห็นหน้าตาของรูปแบบและแนวทางความช่วยเหลือที่รัฐฯจะมีให้  เพื่อชดเชยกับค่าแรงที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น   รัฐฯจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน  ถ้าภาคเอกชนไม่เห็นด้วย ก็ยากที่คณะกรรมการไตรภาคีจะสามารถเดินหน้าต่อได้

ที่สำคัญไม่น้อยกว่าคือการไม่ดำเนินการทันทีทำให้รัฐฯจะมีเวลาร่วมสองปีที่จะควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในกรอบที่เป็นการค้าขายอย่างเสรีจริง  ไม่ใช่ปล่อยให้มีการใช้อำนาจเหนือตลาด  พ่อค้ากำหนดราคาขายตามใจชอบ    ถ้าไม่เตรียมการให้ดี  การปรับค่าแรงขั้นต่ำจะสูญเปล่าเพราะของจะแพงขึ้นไปอีก   มีเงินในกระเป๋ามากขึ้นก็จะไม่มีประโยชน์

( ข้อเสียของนโยบายก็แบบที่เห็น  ไม่โดนใจเท่ากับ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศและทำได้ทันที   เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แพ้เลือกตั้ง )

ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ผมได้ไปดีเบตในเวทีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ตามคำเชิญของมหาวิทยาลัยโดยกลุ่ม Policy Watch เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมเวทีถามตอบหัวข้อ “นักเศรษฐศาสตร์พบนักการเมือง” วันนั้นมีตัวแทนจากสองพรรค

ผมจากพรรคประชาธิปัตย์ และ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช จากพรรคเพื่อไทย    ตัวแทนกลุ่ม Policy Watch ผู้ตั้งคำถาม ได้แก่ รศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, รศ.ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ และ ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย

เกือบสามชั่วโมงครับที่อยู่บนเวที ถามตอบกันไปหลายเรื่อง…….

ที่น่าสนใจคือคำถามเกี่ยวกับเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ มีคำถามว่าทั้งสองพรรคคิดว่านโยบายเพิ่มค่าแรงนั้นจะทำได้จริงหรือไม่ และผลกระทบจะเป็นอย่างไร   ประเด็นที่ผมว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้รับทราบคือคำตอบของพรรคเพื่อไทย ของดร. สุชาติ ธาดาธำรงเวช ครับ

คำถามว่า……จะขึ้นค่าแรงอย่างไรเพราะคณะกรรมการไตรภาคีอาจไม่เห็นด้วย

ท่านตอบว่า…….เมื่อเราเป็นรัฐบาล เราสั่งได้อยู่แล้ว!

นั่นคือคำตอบของพรรคเพื่อไทย   ไม่น่าเชื่อใช่ไหมครับ

เวทีวันนั้นเป็นเวทีเล็กๆ สื่อให้ความสนใจน้อย แน่นอนว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๔๐ ล้านคนไม่ได้ยินได้ฟังคำตอบแบบนี้หรอกครับ

ท่านผู้อ่านเข้าใจชัดเจนแล้วใช่ไหมครับ  ว่าทำไมเราจึงไม่ได้เห็นคุณยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย ปรากฎตัวหน้าจอทีวี  ตอบคำถามที่เป็นสาระที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญๆให้กับประชาชนได้รับทราบก่อนตัดสินใจหย่อนบัตรเลือกตั้ง

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา