ความเหมือนกันระหว่าง CEO

Wed, Feb 7, 2007

English | ทักษิณ

ความเหมือนกันระหว่าง CEO

ผม นำบทความที่ผมได้เคยเขียนไว้และตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม 2544 เก่าพอสมควรครับ มานำเสนอ ท่านผู้อ่าน เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เข้าใจได้ดีขึ้น ว่าพวกเราติดตามการทำงานของคุณทักษิณ มานานแล้วครับ

(บทความนี้ 6 ปีมาแล้วครับ แต่ยังทันสมัยอยู่) วันที่ 18 กรกฎาคม 2544 หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ความเหมือนกันระหว่างสอง จอร์ช บุช และ ทักษิณ ชินวัตร

ประธานาธิบดี สหรัฐคนปัจจุบัน ชื่อ จอร์ช บุช มีรายการวิทยุพูดคุยกับคนอเมริกันทุกวันสุดสัปดาห์ เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2545 บุชกล่าวถึงปัญหาของสหรัฐในปัจจุบันที่ถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวง และเกิดขึ้นจากฝีมือผู้นำทางธุรกิจที่ไม่ซื่อตรงบุชได้กล่าวว่า “ความต้องการสูงสุดสำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐในขณะนี้ คือ ความสามารถที่จะเรียกความเชื่อมั่น ในความซื่อสัตย์ของนักธุรกิจชั้นนำให้กลับคืนมา”

ประชาชน ทั่วไป รวมถึงนักลงทุนรายเล็กรายใหญ่ และนักการเมืองระดับแนวหน้า เช่น Rep.David Phelps ต่างฝากความหวังไว้กับบุชทั้งสิ้น Phelps ได้กล่าวว่า

“(บุช) ต้องดำเนินการอย่างฉับพลันเพื่อกวาดล้างการกระทำความผิด รวมทั้งต้องออกกฎเกณฑ์ที่เข้มข้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกใน อนาคต”

คน อเมริกันส่วนหนึ่งไม่ไว้วางใจบุช เพราะได้เคยรับรู้ถึงอดีตการทำงานของบุชสมัยที่เป็น CEO บริหารงานภาคเอกชนก่อนเข้ามารับตำแหน่งทางการเมือง

ช่วง ปี พ.ศ. 2531 บุชได้นำหุ้นของบริษัท SPECTRUM 7 ที่ตนเองถืออยู่ไปแลกกับหุ้นของบริษัท Harken Energy มูลค่ากว่า 6 แสนเหรียญ หลังจากนั้นบุชก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริษัท รวมทั้งยังได้เป็นกรรมการตรวจสอบที่เรียกว่า AUDIT COMMITTEE อีกด้วย จากนั้นอีก 2 ปี ในปี พ.ศ. 2533 บุชได้ขายหุ้นทั้งหมดจำนวน 212,140 หุ้น ในราคาหุ้นละ 4 เหรียญ ทำให้บุชได้กำไรจากการขายหุ้นถึง 849,000 เหรียญ หรือประมาณ 36 ล้านบาทเศษ ในฐานะเป็นกรรมการบริษัท บุชต้องรายงานการขายหุ้นไปยังกลต. แต่ปรากฏว่าบุชจัดทำรายงานช้ากว่ากำหนดถึง 8 เดือน

ที่ ร้ายไปกว่านั้นก็คือ กลต.ได้ตรวจสอบบริษัท Harken Energy และพบว่าบริษัทลงบัญชีแสดงรายรับ จากการขายบริษัทในเครือไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ทำให้เกิดผลกำไรสูงกว่าความเป็นจริง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างที่บุชเป็นกรรมการที่รับผิดชอบทางด้านการเงิน ของบริษัท กลต.สั่งให้บริษัทแก้ไขตัวเลขให้ถูกต้อง ทำให้บริษัทต้องรายงานผลการขาดทุนถึง 23.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้หุ้นของบริษัทราคาตกลงเหลือเพียงหุ้นละ 2.30 เหรียญ

ความ ตื่นเต้นของเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ก็คือ บุชได้ขายหุ้นทั้งหมดก่อนที่จะเกิดเรื่องเพียง 2 เดือนเท่านั้น กลต.ได้ตรวจสอบการขายหุ้นของบุชว่า เป็นการขายโดยรู้ข้อมูลภายในหรือไม่ คนส่วนใหญ่เดาถูกว่า กลต.คงจะแพ้คดี เพราะในขณะที่มีการสอบสวนเรื่องดังกล่าว คุณพ่อของบุชเป็นประธานาธิบดี และประธานกลต. Mr. Richarl C Breeden ก็เคยช่วยงานคุณพ่อของบุช ในตำแหน่งทนายประจำทำเนียบขาวมาก่อน

บุ ชยืนยันว่า เรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องไร้สาระพร้อมทั้งกล่าวว่า “ในโลกของธุรกิจปัจจุบัน ไม่มีอะไรที่ชัดเจนเช่นขาวหรือดำ โดยเฉพาะในเรื่องการทำบัญชี” คนอเมริกันที่ติดตามงานสมัยอดีตของบุชไม่มั่นใจในคำชี้แจงของบุชมากนัก

กลับ มาที่บ้านของเรา เมื่อวันที่ศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2545 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มาเปิดงาน ” SET IN THE CITY” และเพื่อให้สมกับความทันสมัย ทันกับเหตุการณ์ของโลก โดยเฉพาะปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นที่นิวยอร์ก พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้กล่าวในงานหลายประเด็นที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในกลไกของ ตลาดหลักทรัพย์เป็นอย่างดี เช่น”ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หากเปิดเผยข้อมูลของบริษัทมากเท่าใด ให้ความคุ้มครองรายย่อยมากเท่าใด เท่ากับเป็นการคุ้มครองตัวเองทางอ้อม” หรือ “จะต้องมีการรักษาผลประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างจริงจัง ผู้บริหารจะต้องไม่บริหารงานให้เกิดปัญหาการขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับผู้บริหารที่เป็นผู้ถือหุ้นด้วย”

ใคร ที่ได้มีโอกาสฟัง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวในวันนั้นคงจะทึ่งและเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะเป็นหนึ่งในผู้นำของประเทศในโลกนี้ไม่กี่คน ที่เข้าใจในกลไกของตลาดหลักทรัพย์ได้ดีที่สุด

แต่ สำหรับคนที่ติดตามการทำงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเฉพาะในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ รับผิดชอบเป็น CEO ของบริษัท SHIN ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็คงจะคิดอยู่ในใจว่า…ไม่น่าเชื่อ!

ปัญหา ในอดีตของ พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะยังหลอกหลอน พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ถึงปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็น CEO ของ บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์

เริ่ม ต้นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา ได้โอนหุ้นจำนวนไม่น้อยกว่า 8 ล้านหุ้นของบริษัทชิน ไปใส่ไว้ในชื่อของบริวาร ไม่ว่าจะเป็นแม่ครัว พี่เลี้ยงบุตร หรือยามที่บ้าน โอนไปเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2535 เพียง 30 วันก่อนที่กฎหมาย กลต.จะประกาศใช้ (พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535) หลังจากนั้นก็มีการสั่งซื้อขายหุ้นของบริวารมาโดยตลอด ตั้งแต่ปลายปี 2535 จนถึงปลายปี 2540 กลต.เข้าไปตรวจสอบหลังจากเกิดคดีซุกหุ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543

ผล ของการตรวจสอบของ กลต.พบว่ามีการกระทำผิดจริง กลต.สั่งปรับภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเงิน 6.3 ล้านบาท เพราะกระทำผิดตามมาตรา 246 รวม 9 รายการ ถ้าสังเกตดูจะพบว่าทั้ง 9 รายการ เป็นการซื้อขายในช่วงปี 2538 ถึงปี 2540 เท่านั้น กลต.ชี้แจงแต่เพียงว่าไม่สามารถหาหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดี สำหรับการซื้อขายหุ้นของบริวาร พ.ต.ท.ทักษิณและภริยา ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น จึงเห็นสมควรยุติการดำเนินคดี

แน่นอน ที่สุด ช่วงเวลาการตรวจสอบของ กลต. เป็นช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และประธาน กลต.คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีคู่ใจ พ.ต.ท.ทักษิณ (ช่างเหมือนกับเรื่องของบุชเสียเหลือเกิน)

ที่ น่าแปลกไปกว่านั้นก็เห็นจะเป็นข่าวที่ลงมติชน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2545 เกี่ยวกับการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันของ เศรษฐกิจไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะประธานในที่ประชุม กล่าวว่า “….โดยประชาชนควรจะมีความรักชาติ เมื่อวานผมดู CNN ทราบว่าขณะนี้สหรัฐกำลังแก้ไขกฎหมายใหม่ ทั้งนี้เพราะบริษัทต่างๆ แม้มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐ แต่ไปจดทะเบียนในประเทศอื่นๆ เช่น ในปานามาหรือบริติชเวอร์จิ้นไอส์แลนด์ส ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่ไม่รักชาติ เพราะถือว่าเป็นการเลี่ยงภาษี….” (ก็อยากจะฝากให้คนไทยและบริษัทต่างๆ มีความรักชาติด้วย)

ข้อ เท็จจริงที่ปรากฏก็คือ กลต.ได้ตรวจพบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่ชื่อ Ample Rich Investments Limited เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542 ( พ.ต.ท.ทักษิณถือหุ้นทั้งหมด) ที่บริติชเวอร์จิ้นไอส์แลนด์ส และบริษัทนี้ได้ซื้อหุ้น SHIN ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 จำนวน 32,914,600 หุ้น ปัจจุบันบริษัท Ample Rich Investments Limited ยังถือหุ้นของบริษัท SHIN อยู่ แต่ทราบว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท Ample Rich Investments Limited นี้แล้ว เพราะไม่ปรากฏในรายการแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แจ้งต่อ ปปช.

หลาย คนคงสงสัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไปตั้งบริษัทที่บริติชเวอร์จิ้นไอส์แลนด์ส เพื่ออะไร แปลว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่รักประเทศชาติ เลี่ยงภาษีแบบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวไว้เองหรือ ? ก็ไม่น่าจะใช่ คงไม่มีใครว่าตัวเองอย่างนั้น คำถามที่มีตามออกมา เช่น ทำไม พ.ต.ท.ทักษิณ ซื้อหุ้นของตัวเอง ทำได้อย่างไร ? ซื้อขายจริงหรือเปล่า ? กลต.ตรวจพบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัท Ample Rich Investments Limited เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 สามสัปดาห์หลังประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาวันทื่ 9 พฤศจิกายน 2543 เพื่อเลือกตั้งทั่วประเทศ เงินที่ได้รับจากการขายหุ้นจำนวนมากครั้งนั้น ทำไมไม่ปรากฏในรายงานบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ? หรือว่าได้แปลงเป็นทรัพย์สินอื่นไปแล้ว ?

คนที่จะตอบเรื่องนี้ได้เห็นจะมีอยู่คนเดียว คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา