1-2-3 GO (3G) ตอนที่ 2

1-2-3 GO (3G) ตอนที่ 2

ผมได้เล่าให้ฟังถึงปัญหาของ 3G ว่าไม่น่าจะเกิดได้เร็ว ได้พูดถึงอุปสรรคสำคัญคือความไม่แน่นอนของตลาด ไม่แน่ใจว่าผู้ใช้บริการจะมีมากพอรองรับใบอนุญาตที่อาจจะมีแจกกันถึง 4 ใบ ยังไม่นับส่วนของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว 1 ราย รวมทั้งความกังวลว่า ผู้ใช้ระบบ 2G ปัจจุบันจะเปลี่ยนเป็นระบบ 3G ในอนาคต ส่งผลให้รายได้ของรัฐฯน้อยลงอย่างมหาศาล และจะเป็นประเด็นทางการเมืองที่สำคัญที่สุด

ผม ได้เน้นเรื่องหน้าที่ของรัฐฯในการดูแลผลประโยชน์ของประเทศ ธุรกิจโทรคมนาคมไร้สายเป็นธุรกิจที่นำคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติของแผ่นดิน ไปหาผลประโยชน์ จึงจำเป็นที่รัฐฯต้องระมัดระวังการบริหารในทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ สุงสุดกับทิศทางการพัฒนาประเทศ

คำถาม ว่ารัฐบาลปัจจุบันจะเดินต่องานพัฒนาระบบการสื่อสารไร้สายในอนาคตอย่างไร จะแก้ปัญหาที่มีมาช้านานและสะสมไว้จนดูเหมือนจะไม่มีทางออกได้หรือไม่ จะแก้ไขกันแบบไหน

ก่อน คิดหาคำตอบ คงต้องเข้าไปศึกษาข้อมูลกันเสียก่อน ขอเริ่มที่หน่วยงานของรัฐฯที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง

บริษัท ทีโอที จำกัด และ บริษัท กสท.คมนาคม จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศ และการสื่อสารในปัจจุบัน เดิมอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม สองบริษัทนี้รับภาระเต็มๆเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม

ที่มา ที่ไปของกิจการโทรคมนาคมของเราในอดีตเป็นอย่างไร ถ้าจะเล่าให้ครบคงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการเรียบเรียง ผมจะขอรวบลัด จะคุยกันเฉพาะธุรกิจสื่อสารไร้สายเป็นหลัก ธุรกิจนี้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเกือบทั้งหมดโดยได้รับสัญญาสัมปทานกับรัฐฯ ผ่านบริษัททีโอที และ บริษัทกสท. ขมวดประเด็นได้ว่ารัฐวิสาหกิจทั้งสองได้มีสัญญาสัมปทานไว้กับภาคเอกชน หลายสัญญา หลายบริษัทฯ

ต่อ มากิจการโทรคมนาคมของเราได้มีการพัฒนาเพื่อให้การกำกับดูแลในส่วนของภาครัฐ โปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น ได้มีการตราพรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมในปี 2544 หัวใจสำคัญของพรบ.ฉบับนี้คือการกำเนิดขององค์กรอิสสระที่มีชื่อว่ากทช. กทช.รับหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจโทรคมนาคมไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือ เกิดความไม่เป็นธรรม

วัน นี้เราได้เห็นบทบาทของกทช.มากขึ้น เป็นต้นว่ากทช. เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการออกใบอนุญาตการทำธุรกิจ 3 G เป็นต้น

กลับมาวิเคราะห์เรื่องปัญหาที่เกริ่นไว้เบื้องตันกันครับ

ปัญหาที่หนึ่ง เรื่องของสัญญาสัมปทาน

สัญญา สัมปทานเหล่านี้ ลงนามข้อตกลงกันมานานแล้ว และต่อมาได้มีการแก้ไขสัญญาหลายครั้ง การแก้ไขสัญญามีตั้งแต่การแก้ไขในทางเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงการแก้ไขสัญญาที่รัฐเสียเปรียบ เพราะเป็นการแก้ไขที่มีผลกระทบกับรายได้ของรัฐ ( ในทางที่ทำให้รายได้ของรัฐฯน้อยลง ) ผมเคยเขียนรายละเอียดไว้ในหนังสือ “ใครว่าคนรวยไม่โกง “ อยู่ในหัวข้อ “ โกงซึ่งหน้า แก้สัญญามือถือ ” อ่านได้ที่ http://www.korbsak.com/book2.htm รวมไปถึงการแก้ไขสัญญาในลักษณะที่เป็นการต่ออายุของสัญญาสัมปทานให้นานขึ้น

ผม จะขอไม่เข้าไปในรายละเอียดถึงเนื้อหาของการแก้ไข เพราะได้มีการพูดคุยกันในเรื่องเหล่านี้มาหลายเวทีแล้ว แต่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความว่าการแก้ไขสัญญาสัมปทานเหล่านี้ เป็นการแก้ไขที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

เช่น ในกรณีที่บริษัททีโอที ได้แก้ไขสัญญาร่วมงานกับ บริษัทเอ ไอ เอส รวม 7 ครั้งนั้น ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และที่บริษัทท๊โอทีแก้ไขสัญญาร่วมงานกับบริษัททรูรวม 21 ครั้ง ก็ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

รวม ทั้งที่บริษัทกสท. แก้ไขสัญญาร่วมงานกับบริษัทดีแทค รวม 3 ครั้ง ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน

คณะ กรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลคำวินิจฉัยให้หน่วยราชการได้ทราบ กฤษฎีกาวินิจฉัยว่าการแก้ไขที่ได้ดำเนินไปแล้วไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของ กฎหมายและขอให้รัฐวิสาหกิจได้เร่งดำเนินการเจรจากับคู่สัญญาเพื่อขอให้มีการ แก้ไขสัญญาใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

คำ วินิจฉัยของกฤษฎีกานี้ดูว่าจะไม่มีผล ไม่มีความหมายสำหรับรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่ง เพราะถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆทั้งสิ้น ไม่มีการรับรู้และปฎิบัติตามคำวินิจฉัยแต่ประการใด ผ่านมากว่าสองปีแล้วครับ

ปัญหาที่สอง ข้อพิพาท

หลาย ปีที่ผ่านมา ได้เกิดข้อพิพาทระหว่างบริษัทฯที่เป็นรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เป็นคู่ สัญญา จนเป็นเรื่องถึงโรงถึงศาล ไม่มีเนื้อที่พอที่จะแจกแจงว่าพวกนี้เขาทะเลาะกันเรื่องอะไรบ้าง แต่ถ้าดูจากตัวเลขมูลค่าทุนฟ้อง ท่านผู้อ่านคงพอคาดเดาได้ว่าเป็นคดีที่หนักหรือเบาเพียงใด ( ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง )

บริษัท ทีโอที ในฐานะเป็นผู้ฟ้อง มูลค่า 20,000 ล้านบาท ในฐานะเป็นผู้ถูกฟ้อง มูลค่า 50,000 ล้านบาท

บริษัท กสท. ในฐานะเป็นผู้ฟ้อง มูลค่า 24,000 ล้านบาท ในฐานะเป็นผู้ถูกฟ้อง มูลค่า 3,000 ล้านบาท

แม้กระทั่งระหว่างบริษัท ทีโอที และบริษัทกสท. ก็ยังมีคดีฟ้องร้องกันเองครับ

ข้อ พิพาทมีตั่งแต่การใช้เสาอากาศ ภาษีสรรพสามิต การแบ่งรายได้ จนถึงค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (interconnection charge ) เห็นแล้วหรือยังครับว่า ธุรกิจโทรคมนาคมของไทยเรามันยุ่งเหยิง มีปัญหา คาราคาซัง มากเพียงใด

ปัญหาที่สาม บทบาทหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ

กิจการ โทรคมนาคมของเราในอดีตให้บทบาทและหน้าที่ผ่านไปที่หน่วยงานของรัฐคือบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท. เอกชนรายใดจะประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องได้เป็นคู่สัญญากับทั้งสองหน่วยงาน นี้ วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว หน่วยงานอิสระที่ชื่อว่ากทช.รับบทบาทนี้แทน กทช.กลายเป็นผู้รับผิดชอบในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแต่ผู้ เดียว ถ้าบริษัททีโอที และบริษัทกสท. ต้องการจะหารายได้จากการประกอบกิจการก็ต้องมาประมูลแข่งขัน เช่นเดียวกับภาคเอกชนรายอื่นๆ

ความ ยุ่งยากมันอยู่ตรงนี้ครับ สัญญาสัมปทานที่บริษัทเอกชนมีไว้กับทีโอที และ กสท. ยังไม่หมดอายุ ขณะเดียวกันทีโอที และ กสท.ก็ต้องการจะลงมาเล่นเป็นผู้ประกอบการเสียเอง บทบาทของทั้งสองหน่วยงานจึงซ้ำซ้อน อยากจะเป็นทั้งผู้กำกับ มีรายได้จากสัญญาสัมปทาน พร้อมกับการต้องการเป็นผู้ประกอบการ แข่งกับภาคเอกชนอีกต่างหาก

แม้กระทั่งการดำเนินธุรกิจของทั้งสองหน่วยงานนี้ก็มีส่วนที่ซ้ำซ้อนกันอยู่เช่นกัน

ที่ สนุกขึ้นไปอีกคือ สัญญาสัมปทานที่รัฐฯ มีกับภาคเอกชนนั้นเป็นสัญญาในลักษณะ สร้าง โอน ดำเนินการ ( BTO )แปลว่า ผู้ได้รับสัญญาสัมปทานเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องโอนทุกอย่างให้เป็นสมบัติของรัฐฯ บริษัทฯเอกชนเป็นเพียงผู้ดำเนินการ เมื่อมีรายได้ก็ต้องนำรายได้นั้นมาแบ่งให้กับภาครัฐฯ สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ทั้งหมดเป็นสมบัติของหลวงทั้งสิ้น

เริ่ม มีคำถามว่า ถ้าบริษัทฯเหล่านี้จะเข้าประมูลงาน 3G บริษัทฯ มีสิทธิที่จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นส่วนของสัญญาสัมปทานมาใช้ในระบบ 3G โดยไม่ต้องลงทุนใหม่หรือไม่ รวมทั้งเมื่อลูกค้าต้องการเปลี่ยนระบบ 2G เป็น 3G รายได้จากระบบ 2G เดิมที่มีแบ่งให้ทีโอทีและกสท. ตามสัญญาสัมปทานนั้น จะหดหายไป ใครรับผิดชอบ

ท่าน ผู้อ่านพอเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่า 3G อาจเป็นเพียงภาพลวงตา เป็นไปได้หรือไม่ที่ขณะนี้มีการแย่งใบอนุญาตกันมาก ไม่ใช่เพราะมีลูกค้า3G เพียบ แต่เป็นเพียงแผนของธุรกิจ เป็นการย้ายฐานลูกค้า ที่แต่เดิมเคยอยู่ในระบบ 2G ซึ่งบริษัทฯต้องแบ่งรายได้จากลูกค้า 2G ให้กับรัฐฯตามสัญญาเก่า ย้ายลูกค้าไปอยู่ภายใต้บริษัท 3G ที่กำลังจะก่อตั้งใหม่ ไม่ต้องแบ่งรายได้จากลูกค้า 3G ให้รัฐฯอีกต่อไป หรือแบ่งในอัตราที่ต่ำกว่าเดิมมาก แม้ว่าจะต้องจ่ายค่าใบอนุญาตให้กทช. ก็ยังสุดคุ้ม

ผม เชื่อว่า ประชาชนผู้เสียภาษีคงไม่ยอมอย่างแน่นอน ถ้ากทช. เดินเรื่องการประมูลแล้วทำให้รัฐเสียหาย

ที่เหลือคงต้องรอคุยกันต่อในสัปดาห์หน้าครับ.

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: , ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา