ภาษีขายหุ้น ตอนที่ 2

Mon, Apr 10, 2006

English | ทักษิณ

ภาษีขายหุ้น  ตอนที่ 2

บทความวันที่ :10 เมษายน 2549

วันก่อน ได้เล่าให้ท่านผู้อ่านฟังว่าบริษัทโคตรรวยหรือAmple Rich ทำไมต้องเสียภาษีจากการขายหุ้น

วันนี้ถึงเวลาจะต้องพูดถึงส่วนของ ครอบครัวชินวัตร และครอบครัว ดามาพงษ์ ครับ

หลาย คนสงสัยว่า ในเมื่อครอบครับ คุณทักษิณ ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แล้วไม่ เสียภาษี ไม่เห็นจะแปลก ทำไมประชาชนเรียกร้องในสิ่งที่กฎหมายยกเว้น คือ “ขายหุ้นในตลาด ไม่ต้องเสียภาษี”

เหตุผล มีครับ เพราะธุรกรรมครั้งนี้ไม่ใช่การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แบบที่คนทั่วไป เขาลงทุนกัน นักลงทุนทั่วไปซื้อหุ้นในตลาด แล้วก็ขายในตลาด กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง เสี่ยงดวงกัน แต่ก็ดีใจว่าถ้ามีกำไร ไม่ต้องเสียภาษี

ครอบครัวของชินวัตร และครอบครัวดามาพงษ์ ไม่ได้ซื้อหุ้นบริษัทชินในตลาดหลักทรัพย์ครับ เวลาขายในตลาดแล้วรับทรัพย์กว่า 7 หมื่นล้านบาทนะใช่ แต่ตอนซื้อไม่ได้ซื้อในตลาด ( มีเพียงหุ้นของคุณบรรณพจน์ จำนวน 26 ล้านหุ้นเศษ ที่ซื้อในตลาด )

ปัญหา คือ ในการซื้อหุ้นนั้น บุคคลเหล่านี้ได้หุ้นมาในราคาต่ำกว่าตลาด ต่ำกว่าราคาเป็นจริงทั้งสิ้

มีใครบ้างครับ

คุณยิ่งลักษณ์ ซื้อหุ้นจากคุณทักษิณ 2 ล้านหุ้นในราคา 20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 มูลค่าขณะนั้นน่าจะประมาณ 330 ล้านบาท

คุณพานทองแท้ ซื้อหุ้นจากคุณพ่อ 73 ล้านหุ้นเศษ ในราคาประมาณ 733 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2547 มูลค่าขณะนั้นน่าจะใกล้เคียง 13,000 ล้านบาท

คุณพิณทองทาซื้อหุ้นจากพี่ชาย 367 ล้านหุ้นเศษในราคาประมาณ 367 ล้านบาทเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 มูลค่าขณะนั้น ประมาณ 5,000 ล้านบาท

เกิดคำถาม ขึ้นมาว่า บุคคลเหล่านี้มีฐานะดีพอจะมีเงินจำนวนมากเพื่อซื้อหุ้นเหล่านี้ หรือไม่?

คำตอบ น่าจะเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า “เป็นไปไม่ได้” ไม่ได้ซื้อขายกันจริง เพราะไม่มีการชำระเงิน มีเพียงแต่การทำสัญญาเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ไว้เท่านั้น

ลองมาดูส่วนของคุณบรรณพจน์ ดามาพงษ์ บ้าง

คุณ บรรณพจน์ซื้อหุ้นจากคุณหญิงพจมาน จำนวน 26,825,000 หุ้น ในราคา 26 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 มูลค่าขณะนั้นประมาณ 4,400 ล้านบาท การซื้อหุ้นของคุณบรรณพจน์ไม่ต่างจากการซื้อหุ้นของ คุณยิ่งลักษณ์ หรือการซื้อหุ้นของคุณลูก ๆ เพราะเป็นการซื้อหุ้นในราคาถูก โดยไม่มีการชำระเงิน

ขบวนการซื้อขายหุ้นนอกตลาดในราคาพาร์ทำให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์ เพราะมูลค่าหุ้นที่แท้จริงสูงกว่าราคาที่ซื้อ

กรมสรรพากรในระบบทักษิณ ตีความว่า เมื่อผู้ซื้อซื้อกระดาษ ( ใบหุ้น ) มาครอบครอง ยังไม่มีกำไร ยังไม่ต้องเสียภาษี รอไว้เสียภาษีตอนนำหุ้นไปขาย

จะ เสียภาษีกำไรก็ต่อเมื่อนำหุ้นไปขาย แต่ต้องขายนอกตลาดด้วยนะ อย่านำหุ้นไปขายในตลาด เดี๋ยวจะไม่ได้เสียภาษี ตีความอย่างนี้น่าสมเพช มนุษย์น่าโง่ที่ไหนจะขายหุ้นนอกตลาดครับ ผมสงสัยจริงๆ บรรดาลูกๆ และญาติๆจึงไม่ต้องเสียภาษีครับ นี่คือการใช้ช่องว่างของกฎหมายอย่างแยบยล

สำหรับผู้ขายไม่ต้องเสียภาษีเพราะขายหุ้นในราคาเท่าทุน ไม่มีกำไร ไม่เสียภาษี คุณพ่อและคุณแม่จึงไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน

ระบอบทักษิณนี่ ประเทศย่อยยับจริงจริง!

ดูแบบที่มีการชำระเงินบ้าง ว่าเขาหาทางหนีภาษีอย่างไร

คุณ บรรณพจน์ ซื้อหุ้นจาก นางสาวดวงตา วงศ์ภักดี (คนในบ้านคุณทักษิณ – ซุกหุ้นภาค1จำได้ไหม) จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 164 บาท เป็นเงิน 738 ล้านบาท เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 คุณบรรณพจน์ ไม่ได้มีเงินมากถึง 738 ล้านบาทหรอกครับ คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ออกเงินให้

อ่าน แล้วอย่าเข้าใจผิด คิดว่าคุณหญิงใจกว้าง เพราะตามข้อเท็จจริง เมื่อนางสาวดวงตา ในฐานะผู้ขายได้รับเงิน 738 ล้านบาท เป็นค่าหุ้นแล้ว ก็ต้องรีบวิ่งแจ้น นำเงินไปคืนคุณหญิงอยู่ดี ( ย้ายเงินจากกระเป๋าซ้าย ไปกระเป๋าขวาเท่านั้น )

ท่านผู้อ่าน อ่านถึงตอนนี้ก็น่าจะเข้าได้ว่า คุณบรรณพจน์ ดามาพงษ์ ควรเสียภาษีเงินได้ จากเงินที่ได้รับจำนวน 738 ล้านบาท ไม่ครับ เพราะคุณหญิงแจ้งกรมสรรพากรว่า เงินค่าหุ้นนี้เป็นเงินที่ให้โดยเสน่หา เนื่องในงานสมรสของคุณบรรณพจน์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2539 และมีบุตรเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2539

กรม สรรพากรตอบสนองครับ เชื่อและเห็นด้วยทันทีว่าเมื่อเป็นการให้โดยเสน่หา ก็ไม่ต้องเสียภาษี (อธิบดีกรมสรรพากรคนนั้น วันนี้ได้เป็นปลัดกระทรวงไปแล้ว )

คุณ หญิงให้เงินคุณบรรณพจน์เป็นของขวัญ หลังจากได้แต่งงานไปแล้วเกือบ 2 ปี และมีบุตรแล้วเกือบ 1 ปี เวลาห่างกันขนาดนี้ กรมสรรพากรก็ไม่ว่าอะไร นี่ยังไม่นับนะ ว่าให้ของขวัญกันแบบไหนมูลค่า เกือบพันล้าน ระบอบทักษิณ สุดยอดอย่างนี้แหละครับ.

สุดท้ายเป็นการซื้อหุ้นชินของลูก ๆ ที่ ซื้อในราคาพาร์ จากบริษัทโคตรรวย(Ample Rich) ครับ ซื้อ ทั้งหมด 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท มูลค่า 329.2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 มกราคาม 2549 และหลังจากนั้นเพียง 3 วัน ลูก ๆ ทั้ง 2 นำหุ้นมาขายต่อในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ฟันกำไร เหนาะ ๆ เกือบ 14,000 ล้านบาท

ถามกันว่าทำไม บริษัท Ample Rich ถึงยอมขายหุ้นในราคาถูกให้ ลูก ๆ ทั้ง 2 คือ คุณพิณทองทา และคุณพานทองแท้ ก็เพราะ ลูก ๆ ทั้ง 2 เป็นเจ้าของบริษัทซิครับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก! กระเป๋าขวาไปกระเป๋าซ้าย เก่งเหมือนคุณแม่เลย

จริงจริงแล้วไม่ใช่ เพราะลูกทั้งสองนอกจากจะเป็นเจ้าของบริษัทโคตรรวยแล้ว ยัง เป็นกรรมการบริษัทอีกด้วย ตรงนี้ครับที่มีการวางแผนผิดพลาด

เมื่อบริษัท Ample Rich มอบ ทรัพย์สิน ให้กรรมการ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือทรัพย์สินในรูปแบบใดก็แล้วแต่ กรมสรรพากรต้องประเมินมูลค่าราคาทรัพย์สินนั้น ๆ ครับ

กรณี นี้ ลูก ๆ ทั้ง 2 ต้องเสียภาษีเงินได้จากทรัพย์สินที่ได้รับ ประเมินราคาที่ 14,000 ล้านบาท ต้องนำไปรวมกับรายได้ปกติและยอมเสียภาษีเสียโดยดี ก่อนเมษายนปี2550 ไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบพนักงาน กฟผ. ก็บุญแล้ว

ดิ้นไม่หลุดหรอกครับ เชื่อผมเถอะ! แต่ต้องห้ามคุณพ่อด้วยนะ เลิกแก้ตัวแทนว่าคุณลูกๆไม่ใช่กรรมการบริษัท (คุณทักษิณให้สัมภาษณ์รายการคุณสรยุทธ์ ว่าลูกๆเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ได้เป็นกรรมการ ) ท่านผู้อ่านดูหลักฐานของกลต.ซิครับ ชัดเจนว่าคุณทักษิณพูดปดอีกแล้ว

เอกสาร วันที่เข้าเป็นกรรมการ ของ น.ส.พินทองทา   ชินวัตร

เอกสาร วันที่เข้าเป็นกรรมการ ของ น.ส.พินทองทา ชินวัตร

เอกสาร วันที่เข้าเป็นกรรมการ ของ นายพานทองแท้   ชินวัตร

เอกสาร วันที่เข้าเป็นกรรมการ ของ นายพานทองแท้ ชินวัตร

ถ้าลูกๆเป็นเจ้าของ Ample Rich การ ซื้อขายหุ้นในราคาพาร์จะถูกตีความเหมือนกรณีย์ที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น แต่เมื่อลูกๆเป็นกรรมการด้วย จึงไม่นับเป็นการซื้อขายหุ้นแบบปกติ ถือว่าบริษัทให้ประโยชน์ แก่กรรมการ ต้องนับเป็นรายได้ตามมูลค่าจริงและต้องเสียภาษี

ทั้งหมด ที่นำเสนอ เป็นเรื่องของภาษีเงินได้ส่วนบุคคล เรืองนี้เป็นความลับ เป็นสิทธิส่วนตน เจ้าตัวจะเสียหรือไม่เสีย ไม่ต้องบอกใคร กรมสรรพากรมีหน้าที่จะต้องติดตามการเสียภาษี อย่าละเลยหน้าที่เป็นอันขาด เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน!

คลิ้กที่นี่เพื่ออ่านเรื่องภาษีตอน 1

แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา