กุหลาบแก้ว ตอนที่ 2

กุหลาบแก้ว ตอนที่ 2

เขาแก้ปัญหากันอย่างนี้ครับ

กลุ่มบริษัท เทมาเส็ก ได้ชวนคนไทยที่เป็นนักธุรกิจในประเทศมาเลเชีย เข้ามาชื้อหุ้นเพิ่มอีก 1 ราย จึงได้มีการเพิ่มทุนบริษัท กุหลาบแก้ว เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 การเพิ่มทุนครั้งนี้ เพิ่มจากทุน 3,800ล้านบาทเศษ เป็น 4 พันล้านบาทถ้วน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นดูแล้วไม่มาก ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญ ส่วนที่มีความหมายมากคือ การเพิ่มทุนครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักลงทุนคนไทยที่ทำธุรกิจอยู่ในมาเลเซียคือ คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทย คือมีหุ้นอยู่ในมือถึง ร้อยละ 68 และเป็นการครอบครองหุ้นประเภทที่เรียกว่า หุ้นสามัญทั้งหมด ยกเว้นเพียง 1 หุ้น ที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ เท่านั้น คุณสุรินทร์ใช้เงินในการลงทุนครั้งนี้กว่า 2,700 ล้านบาท

แผนภูมิ เส้นทางเดินของเงินลงทุน

แผนภูมิ เส้นทางเดินของเงินลงทุน

ที่ผมชื่นชมในการทำงานของท่านอธิบดีอรจิต ต้องชมแล้วชมอีก เพราะท่านตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นของกุหลาบแก้ว โดยล้วงลึกเข้าไปดูเส้นทางที่ไปที่มาของเงินลงทุนอย่างจริงจัง ผลตรวจสอบปรากฏว่า เงินที่คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล นำมาลงทุนนี้ โอนมาจากบัญชีของบริษัท Fairmont Investment Group Inc. บัญชีนี้อยู่ที่ธนาคาร Credit Suisse สาขาสิงคโปร์ สั่งจ่ายโดยคำสั่งของ บริษัท กรีนแลนด์ จำกัด

บริษัท Fairmont Investment Group เป็นใคร ?
และบริษัท Green Land เป็นใคร ?

บริษัท Fairmont Investment Group จดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติช เวอร์จินท์ ตั้งอยู่ที่ ป.ณ. 905 Road Town, Tortura, British Virgin Island คุ้น ๆ ไหมครับ จำ Ample rich หรือ Win Mark ได้ไหม ทั้ง Fairmont Ample rich และ Win Mark ใช้ตู้ ป.ณ. เลขที่ ที่ต่างกัน แต่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกันหมด แปลกดี

บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 50,000เหรียญสหรัฐ ผู้มีอำนาจในการ สั่งการในนามบริษัทแต่ผู้เดียว ไม่ใช่นาย ก นาย ข หรือ คุณสุรินทร์ แต่กลายเป็นบริษัทชื่อ Green Land เสียดายที่ข้อมูลของบริษัท Green Land ขาดหายไป บริษัท Green Land จำกัด ได้มอบอำนาจการลงทุนในครั้งนี้ให้ คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล จึงไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า คุณสุรินทร์ หรือ บริษัท Green Land กันแน่ที่เป็นเจ้าของเงินลงทุนซื้อหุ้น 2,700 กว่าล้านบาท

ถึงแม้ว่าคุณสุรินทร์ จะได้จ่ายค่าหุ้นโดยโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนเองเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 เป็นจำนวนเงิน 2,700 ล้านบาทก็ตาม แต่ข้อมูลปรากฏชัดว่า เงินจำนวนนี้ได้รับการโอนมาจาก บัญชี ของบริษัท Fairmont Investment Group Inc. ในวันเดียวกันนั่นเอง

แสดงว่า คุณสุรินทร์ ไม่ได้ใช้เงินของตนเองมาลงทุน มีคนออกเงินให้ ใช่หรือไม่ ปมของเรื่องนี้จึงอยู่ที่ บริษัท Green Land ครับ เพราะเป็นต้นตอ เป็นผู้สั่งให้โอนเงิน เป็นเจ้าของเงินตัวจริง วันนี้ถ้าคุณสุรินทร์ แสดงหลักฐานให้ชัดว่า ท่านคือเจ้าของบริษัท Green Land ข้อกล่าวหาว่าเป็น นอมินี ก็คงจะหมดไป

คุณสุรินทร์จะได้ไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็น นอมินี เหมือนกับที่เคยถูกกล่าวหามาในอดีต เรื่อง นอมินี นี่มีประวัติมาก่อนครับ เมื่อกลางปี 2545 คุณสุรินทร์เคยถูกกล่าวหาว่า เป็นนอมินี ให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของมาเลเชีย ชื่อ Tun Daim Zainuddin มาแล้ว ก็เป็นแต่เพียงข้อกล่าวหา เท็จจริงอย่างไรคงจะพิสูจน์กันยาก ผมนำบทความที่มีการตีแผ่ บนหน้าหนังสือพิมพ์ The Edge Daily มาให้อ่านกันครับ

21-06-2002: MPHB’s Surin: “I am not a nominee of Daim”
By Thomas Soon, 12.46pm

Multi-Purpose Holdings Bhd (MPHB) executive chairman Datuk Surin Upatkoon denies that he is a nominee of former finance minister Tun Daim Zainuddin.

“People think we (the major shareholders of MPHB) are nominees of Daim. We are not. I do not know him,” he said after MPHB’s AGM on June 21.

Surin, which controls MPHB via his shareholding in Quantum Aspects Sdn Bhd, had earlier been perceived to be closely linked to Daim. MPHB controls another listed company Magnum Corporation Bhd.

In December last year, a Singapore business daily apologised to Daim over an article the previous month that he was linked to the present owners of MPHB and that they were close allies.

Daim had written to the newspaper asking it to retract “untruths printed of me” and to refrain from printing “malicious and mischievous reports that seek to tarnish my reputation”. He said he did not know the present owners of MPHB and had never met or dealt with them.

Today, MPHB shareholders passed all the resolutions at the AGM, including the re-election of Datuk Razman Md Hashim Che Din Md Hashim, Lim Tiong Chin, Ng Kok Cheang, Sahibudeen Abdul Kader and Vijeyaratnam V Thamotharam Pillay.

The meeting ended some 15 minutes with no shareholders fielding any questions despite the company having hogged the limelight recently.

Later, when asked why the AGM went on so fast, Surin said: “Because there were no issues. Things are smoother now and we are concentrating on the business.”

ท่านผู้อ่านมีความเห็นเป็นอย่างไรครับ ธุรกิจไร้พรมแดนในโลกปัจจุบันนี้ ใครช้า ไม่ติดตามวิธีลงทุนของเศรษฐียุคใหม่ให้ทัน รับประกันได้ว่า ไม่มีปัญญาติดตามให้คนเหล่านี้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างแน่นอน TIME ลงบทความเกี่ยวกับ วิธีการลงทุนของเศรษฐีใหม่ ของเอเซีย ฉบับวันที่ 28 สิงหาคม 2549 มีประเด็นเกี่ยวกับ Private Banking และ แผนธุรกิจ ของธนาคาร UBS และธนาคาร Credit Suisse ที่ สิงค์โปร์ ไว้อย่างน่าสนใจ ใครใจร้อนต้องหาซื้ออ่านเอง สำหรับท่านผู้อ่านที่รอได้ ผมมีโอกาสจะนำสรุปมาเล่าให้ฟังครับ อ่านแล้วจะทำให้เข้าใจในนโยบายของ คุณทักษิณ ทั้งนโยบายเพื่อรัฐ และนโยบายเพื่อความมั่งคั่งของตนเองได้เป็นอย่างดี

ถึงวันนี้หน้าตาผู้ถือหุ้นของบริษัทชิน มีใครบ้างครับ ฝ่ายต่างด้าว คือ บริษัทแอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ครอบครองหุ้นร้อยละ 41.76 จำนวน 1,334,345,825 หุ้น ใช้เงินซื้อ หุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินประมาน 66,000 ล้านบาท คงไม่มีใครสงสัยว่าบริษัทแอสเพน นำเงินเหล่านี้มาลงทุนจากไหน เพราะทุกคนรู้ว่ารัฐบาลสิงคโปร์ เป็นเจ้าของ บริษัทแอสเพน

แล้วฝ่ายไทยละ ฝ่ายไทยหรือบริษัทไทย ชื่อ บริษัทซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 54.53 จำนวน 1,742,407,239 ใช้เงินซื้อหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 86,000 ล้านบาท

บริษัทซีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัด มีคนไทย 3 คน คือ คุณพงส์ สารสิน, คุณศุภเดช พูนพิพัฒน์และ คุณสุรินทร์ อุปพัทธกุล ทั้ง 3 ท่าน ครอบครองหุ้นรวมกันประมาณร้อยละ 70 คิดเป็นเงินลงทุนเกือบ 60,000 ล้านบาท

ผมสงสัยจริง ๆ ว่าทั้ง 3 ท่านนำเงินลงทุนมาจากแหล่งใด หวังว่าธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยไม่ได้ปล่อยเงินกู้ให้ท่านเหล่านี้มาลงทุน เพราะถ้าดูจากมูลค่าหุ้นปัจจุบัน ซื้อมาหุ้นละ 49.25 บาท ตอนนี้หุ้นตกเหลือหุ้นละประมาณ 30 บาท ขาดทุน ไม่หนี 20,000 ล้านบาท ไปแล้วสำหรับผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย

ท่านผู้อ่านเคยเล่นหุ้นไหม แบบที่เรียกว่า มาร์จิ้น นะ ครับ จำได้ไหมครับ เวลาซื้อหุ้นแบบมาร์จิ้น ( แปลง่ายง่ายว่ากู้เงินมาเล่นหุ้นนั้น) พอหุ้นตก โบรกเกอร์ บังคับให้ขายทันที ขาดทุนก็ต้องยอม ที่เล่าให้ฟังนี้เป็นประเภทที่ซื้อหุ้น เป็นแค่แสนบาทก็จะแย่อยู่แล้ว นักลงทุนไทยที่ขาดทุน 2 – 3 หมื่นล้าน จะเป็นไปได้หรือครับ ไม่มีทางหรอกครับ ไม่ต้องสงสัยกันอีกแล้ว เป็นนอมินีอย่างแน่นอน

เป็นไปได้ไหมครับ ว่าพวกเราถูกหลอก เป็นไปได้ไหมว่าจริง ๆ แล้วผู้ขาย ผู้ซื้อ ฝ่ายไทย เป็นคนกลุ่มเดียวกัน เป็นไปได้ไหมว่า จริงแล้วไม่ได้มีการซื้อขายหุ้น จำตอนที่คุณทักษิณ แอบไปตั่งบริษัท Ample Rich ที่หมู่เกาะ บริติช เวอร์จิ้น แล้วซื้อหุ้นของตัวเองถึง 329 ล้านหุ้น จำได้ไหมครับ แล้วทำไมครั้งนี้คนคนนี้จะทำเหมือนที่เคยได้ทำมาแล้วครั้งหนึ่งไม่ได้

คลิกเพื่ออ่านบทความ”กุหลาบแก้ว ตอนที่ 1″

ลองแวะไปชม “สวนหลังบ้าน” ของคุณทักษิณกันดีไหมครับ ชมสวนแล้วอาจจะมีคำตอบ
คลิกที่รูปต้นไม้ เพื่อขยายความ

OAK = พานทองแท้ ชินวัตร(โอ๊ก) ELM = พิณทองทา ชินวัตร(เอม) INGA = แพทองธาร ชินวัตร(อิ๊ง) REED = พจมาน ชินวัตร(อ้อ) ROSE = บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด MAPLE = Maple Lodge CEDAR = บริษัท ซีดาร์โฮลดิ้ง ASPEN = บริษัท แอสแพน โฮลดิ้ง CYPRESS = บริษัท ไซเปรส โฮลดิ้ง THAKSIN GREENLAND = บริษัท กรีนแลนด์ จำกัด
แบ่งปันเรื่องราว:
  • Print
  • del.icio.us
  • Facebook
  • email
  • PDF
  • Twitter

Tags: ,

Comments are closed.

Twitter

TwitPic

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
Korbsak.com
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ค้นหา